Type Here to Get Search Results !

10 อันดับ เหตุการณ์ทางดาราศาสตร์หายากและน่าตื่นตาตื่นใจ

10 67พี/ชูรูย์มอฟ–เกราซีเมนโค 67P/Churyumov–Gerasimenko

Churyumov Gerasimenko

   67พี/ชูรูย์มอฟ–เกราซีเมนโค หรือ 67พี เป็นดาวหางที่มีคาบดาราคติ 6.45 ปี และมีคาบการหมุนรอบตัวเอง 12.4 ชั่วโมง มีความเร็วสูงสุด 135,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง ดาวหางมีขนาดราว 4.1 กิโลเมตร เช่นเดียวกับดาวหางอื่น ๆ ดาวหาง 67พี ได้รับการตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ ซึ่งคือ คลิม ชูรูย์มอฟและสเวตลานา อีวานอฟนา เกราซีเมนโค นักดาราศาสตร์ชาวโซเวียต ซึ่งค้นพบดาวหางนี้เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1969 ดาวหาง 67พี ยังเป็นจุดหมายของยานอากาศ โรเซตตา ขององค์การอวกาศยุโรป ซึ่งได้ปล่อยจากฐานเมื่อ 2 มีนาคม 2004 ซึ่งโรเซตตาได้เดินทางถึง 67พี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2014 และเข้าสู่วงโคจรของ 67พี เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2014ก่อนที่ต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2014 โรเซตตาได้ปล่อยยานลูก ฟีเล ลงจอดบนดาวหาง 67พี นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่มีการลงจอดบนดาวหาง

9 ปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ Leonids meteor shower


leonid meteor

   ปรากฏการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เป็นฝนดาวตกหนาแน่น เกิดจากเศษดาวหาง เทมเพล-ทัตเติล ได้ชื่อว่าฝนดาวตกสิงโตเนื่องจากตำแหน่งของรัศมีของฝนดาวตกอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวสิงโต กระแสของฝนดาวตกจะเริ่มต้นจากบริเวณนี้บนท้องฟ้า สามารถมองเห็นฝนดาวตกนี้ได้ด้วยตาเปล่าในราวเดือนพฤศจิกายนทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่โลกโคจรผ่านกระแสอนุภาคของฝนดาวตกที่เป็นเศษซากเหลืออยู่ของในเส้นทางโคจรของดาวหาง กระแสอนุภาคนี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนขนาดเล็ก เรียกว่า สะเก็ดดาว ที่แตกตัวออกมาจากดาวหางเมื่อแก๊สแข็งของดาวหางเกิดระเหยขึ้นเนื่องจากความร้อนของดวงอาทิตย์ขณะที่ดาวหางโคจรเข้ามาถึงบริเวณวงโคจรของดาวพฤหัสบดี
   ฝนดาวตกสิงโตมีชื่อเสียงมากเนื่องจากเป็นฝนดาวตกที่ค่อนข้างสว่าง สะเก็ดดาวที่หลงเหลืออยู่จากซากดาวหางยังคงล่องลอยอยู่ในแนววงโคจรใกล้เคียงกับวงโคจรเดิมของดาวหาง แต่ถูกรบกวนจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ โดยเฉพาะดาวพฤหัสบดี  และกลายไปเป็นกระแสอนุภาค หางสะเก็ดดาวแต่เดิมจะไม่หนาแน่นและเป็นเพียงฉากหลังของฝนดาวตก วันที่เกิดฝนดาวตกคือประมาณวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยอาจเปลี่ยนไปบ้างในแต่ละปี ในทางกลับกันหางสะเก็ดดาวชุดใหม่จะหนาแน่นมากและทำให้เกิดพายุฝนดาวตกเมื่อโลกเคลื่อนผ่านบริเวณเหล่านั้น สามารถนับได้สูงถึงมากกว่า 1000 ดวงต่อชั่วโมง

8 ดาวหางเฮล-บอปป์ Hale- Bopp comet

hale bopp comet

    ดาวหางเฮล-บอปป์ ดาวหางที่มีการเฝ้าสังเกตการณ์มากที่สุดที่คริสต์ศตวรรษที่ 20 และเป็นหนึ่งในบรรดาดาวหางที่สว่างที่สุดในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา สถิติการมองเห็นด้วยตาเปล่าสามารถเฝ้าดูอยู่ได้เป็นเวลานานถึง 18 เดือน เป็นสองเท่าของสถิติเดิมคือดาวหางใหญ่แห่งปี 1811 ดาวหางเฮล-บอปป์ถูกค้นพบโดยนักสังเกตการณ์ดาวหางสองคนซึ่งอยู่กันคนละแห่ง ได้แก่ อลัน เฮล และ โทมัน บอปป์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 ขณะที่มันยังอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นทางไกลมาก ทำให้คาดหมายกันว่ามันจะกลายเป็นดาวหางใหญ่ได้เมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น แม้การคาดคะเนความสว่างของดาวหางจะมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ แต่ปรากฏว่าดาวหางเฮล-บอปป์สามารถทำได้ดีกว่าการคาดหมายเมื่อมันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1997 และได้รับการขนานนามให้เป็น ดาวหางใหญ่แห่งปี 1997

7 ดาวหางแฮลลีย์ Halley’s comet


comet halley

   ดาวหางแฮลลีย์ มีชื่อตามระบบดาวหางอย่างเป็นทางการว่า 1P/Halley ตั้งชื่อตาม เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ (Edmond Halley) ผู้ซึ่งคำนวณคาบโคจรและทำนายการปรากฏตัวของดาวหางได้อย่างถูกต้องเป็นครั้งแรก ดาวหางแฮลลีย์มีคาบโคจรรอบละประมาณ 75-76 ปี นับเป็นดาวหางแบบมีคาบโคจรที่มีชื่อเสียงที่สุด แม้ในทุกศตวรรษจะมีดาวหางคาบยาวอื่น ๆ อีกหลายดวงที่สว่างกว่าและสวยงามมากกว่า แต่ดาวหางแฮลลีย์นับเป็นดาวหางคาบสั้นเพียงดวงเดียวที่มีความสว่างมากจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเป็นดาวหางที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียงดวงเดียวที่หวนกลับมาให้เห็นได้อีกในช่วงชีวิตของคน ๆ หนึ่ง ดาวหางแฮลลีย์โคจรเข้ามายังระบบสุริยะชั้นในครั้งล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 1986 และจะกลับมาอีกครั้งในราวกลางปี ค.ศ. 2061

6 ดาวหางไอซอน Comet ISON


comet ISON

   ดาวหางไอซอนเป็นดาวหางที่มีแนวโน้มจะสว่างเห็นได้ด้วยตาเปล่าในปี 2556 และน่าจะสว่างกว่าดาวหางแพนสตาร์ส โดยปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดในช่วงฤดูหนาวของปลายปี 2556 ถึงต้นปี 2557 ดาวหางไอซอนถูกค้นพบเมื่อเดือนกันยายน 2555 ข่าวการค้นพบดาวหางดวงนี้สร้างความตื่นเต้นในแวดวงนักดาราศาสตร์สมัครเล่นอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะนักดาราศาสตร์ในซีกโลกเหนือ ซึ่งไม่มีโอกาสเห็นดาวหางสว่างมานานหลายปี ขณะค้นพบ ดาวหางอยู่ห่างดวงอาทิตย์ 6.3 หน่วยดาราศาสตร์ สว่างที่โชติมาตร 18.8 ดาวหางไอซอนจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดราววันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2556 ที่ระยะห่าง 0.012 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 1.9 ล้านกิโลเมตร นับว่าเฉียดใกล้ดวงอาทิตย์มาก ห่างผิวดวงอาทิตย์เพียง 1.2 ล้านกิโลเมตร คาดว่าขณะดาวหางสว่างที่สุดในวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2556 ความสว่างโดยรวมทั้งหัวและหางอาจสูงมาก คาดว่าอยู่ในช่วงโชติมาตร -10 ถึง -16 ซึ่งใกล้เคียงหรือสว่างกว่าดวงจันทร์เต็มดวง เราสามารถเห็นดวงจันทร์ในเวลากลางวันได้ ดังนั้นความสว่างระดับนี้จึงเพียงพอที่จะเห็นได้ในเวลากลางวัน อย่างไรก็ตาม ขณะนั้นดาวหางอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ การสังเกตจึงทำได้ไม่ง่ายนัก

5 ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม Planetary Alignment


planetary alignment

   ดาวเคราะห์ชุมนุม (planetary grouping) เป็นปรากฏการณ์ที่เราเห็นดาวเคราะห์ตั้งแต่ 3 ดวงขึ้นไป มาอยู่ใกล้กันบนท้องฟ้าเมื่อสังเกตจากพื้นโลก วันที่ 8 สิงหาคม 2553 เกิดปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุมขึ้น โดยมีดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวเสาร์ มาเกาะกลุ่มอยู่ใกล้กันภายในระยะ 5° เหนือท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นดาวเคราะห์เพียง 3 ดวงมาอยู่ใกล้กันบนท้องฟ้าเช่นนี้เรียกว่า planetary trio หากมองจากอวกาศแล้วลากเส้นผ่านโลกกับดาวเคราะห์อีก 3 ดวง จะพบว่าดาวเคราะห์ทั้ง 4 ดวง เกือบอยู่แนวเดียวกัน นอกจากนั้น เรายังจะเห็นดวงจันทร์ผ่านมาอยู่ใกล้ ๆ ดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวง ในค่ำวันที่ 12 และ 13 สิงหาคม 2553 ในอดีตมีปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุมหลายครั้ง ส่วนใหญ่จะได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษก็ต่อเมื่อดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าทั้ง 5 ดวง มาปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้า ซึ่งอาจรวมหรือไม่รวมถึงเหตุการณ์ที่มีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยก็ได้



พายุคะนองสีขาวที่ดาวเสาร์ Great White Thunder Storm

great white thunder strom

  พายุคะนองสีขาวที่ดาวเสาร์ เป็นเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ที่หายากมาก เหตุการณ์นี้จะเกิดทุก 30 ปี ตามเวลาในโลก เป็นการก่อตัวขึ้นของพายุในซีกโลกเหนือของดาวเสาร์ จากแอมโมเนียก่อตัวขึ้นเป็นเมฆ และเต็มไปด้วยฟ้าร้องและฟ้าผ่า การก่อตัวของเมฆนี้มีความยาวครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางของโลก ฟ้าผ่าจะเกิดขึ้นในทุกวินาทีที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์ ความยาวแสงของฟ้าผ่าประมาณ 10,000 ไมล์ 

3 ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ Venus Transition

transist of venus

   ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อดาวศุกร์เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ คนบนโลกจะเห็นดาวศุกร์เป็นดวงกลมดำขนาดเล็กเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ การผ่านหน้าคล้ายกับสุริยุปราคาที่เกิดจากดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ ต่างกันตรงที่ดาวศุกร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าดวงจันทร์ แม้ว่าจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า เราจึงมองเห็นดาวศุกร์มีขนาดเล็กมาก ในอดีตนักดาราศาสตร์ใช้ปรากฏการณ์นี้ในการวัดระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์โดยอาศัยการเกิดแพรัลแลกซ์ เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่ได้คำนวณและสังเกตเห็นการเคลื่อนตัวในวงโคจรของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ดังกล่าวเมื่อเวลาตั้งแต่ 15.15 น. จนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2182 ดวงศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งต่อไปมีให้เห็นได้ทั่วประเทศไทยในตอนเช้าวันที่ 6 มิถุนายน 2555

2 พระจันทร์สีน้ำเงิน Blue Moon

blue moon

   คือดวงจันทร์เต็มดวงที่มีกำหนดเวลาเกิดไม่แน่นอนv โดยส่วนใหญ่ในแต่ละปีจะมีดวงจันทร์เต็มดวง 12 ครั้ง เฉลี่ยเกิดประมาณเดือนละหนึ่งครั้ง แต่ถ้าคิดเฉพาะระยะเวลาที่เกิดดวงจันทร์เต็มดวง 12 ครั้ง ในหนึ่งปีของปฏิทินตามระบบสุริยคติจะมีจำนวนวันมากกว่าประมาณ 11 วัน ซึ่งเมื่อนำมาสะสมรวมกัน จะทำให้ทุกสองหรือสามปีมีดวงจันทร์เต็มดวงเพิ่มขึ้นหนึ่งครั้ง (กล่าวคือจะเกิดขึ้น 2.71722874 ปี) ดวงจันทร์เต็มดวงที่เพิ่มขึ้นมานี้เรียกว่า “ดวงจันทร์สีน้ำเงิน" แต่เนื่องจากมีการนิยามความหมายของดวงจันทร์ “ที่เพิ่มขึ้นมานี้" ต่างกัน จึงทำให้การกำหนดวันที่เกิดดวงจันทร์นี้ต่างกัน โดยส่วนใหญ่ดวงจันทร์สีน้ำเงินหมายถึงดวงจันทร์เต็มดวงที่เกิดครั้งที่สองของเดือน

1 สุริยุปราคา Total Solar Eclipse

rarest and amazing astronomical events


   สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น






ที่มา themysteriousworld

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น
* Please Don't Spam Here. All the Comments are Reviewed by Admin.

Top Post Ad