สุไลมานขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ.1520 ขณะที่ขึ้นครองราชย์นั้นอาณาจักรออตโต-มานเจริญถึงขั้นสูงสุดทั้งทางตะวันตกและทางตะวันออก
9 เจมส์ (อังกฤษ; 24 มีนาคม 1603 - 27 มีนาคม 1625)
พระเจ้าเจมส์ประสูติ ณ เมืองเอดินบะระ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์กับเฮนรี ลอร์ดแห่งดานเลย์ ขึ้นครองราชย์เนื่องด้วยพระราชมารดาถูกบังคับให้สละราชสมบัติ บริหารราชการแผ่นดินภายใต้ผู้สำเร็จราชการหลายคน เมื่อสามารถบริหารราชการได้ด้วยพระองค์ก็ทรงบริหารตามอำเภอใจจนเกิดความระส่ำระสาย เกิดกบฏต่อต้านและมีการจำคุกผู้คนเป็นจำนวนมาก
8 พระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกีแห่งโปแลนด์
พระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกีแห่งโปแลนด์ (โปแลนด์: Jan III Sobieski; อังกฤษ: John III Sobieski) (17 สิงหาคม ค.ศ. 1629 – 17 มิถุนายน ค.ศ. 1696) เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีความสำคัญของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียแห่งราชวงศ์โซบีสกี ผู้ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1674 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1696 พระเจ้าจอห์นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์และแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนีย การครองราชสมบัติเป็นเวลายี่สิบสองปีของพระองค์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความมั่นคงที่เป็นที่ต้องการหลังจากสภาวะอันปั่นป่วนของความวุ่นวายที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นที่เกิดขึ้นในสมัยของความระส่ำระสายของเครือจักรภพ (Deluge) และการปฏิวัติคเมลนิทสกี (Khmelnytsky Uprising) พระเจ้าจอห์นเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่นิยมของประชาชน และทรงเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถ โดยเฉพาะในการต่อสู้อย่างกล้าหาญและเมื่อทรงได้รับชัยชนะต่อออตโตมันเติร์กในยุทธการเวียนนาในปี ค.ศ. 1683 ชัยชนะครั้งนี้ทำให้ทรงได้รับสมญานามจากเติร์กว่าเป็น “สิงห์แห่งลิทัวเนีย”
7 จักรพรรดิเมจิ สมเด็จพระจักรพรรดิมุสึฮิโตะ(ญี่ปุ่น; 3 กุมภาพันธ์ 1867 - 30 กรกฎาคม 1912)
เจ้าชายมุสึฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 หลังการสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิโคเม พระราชบิดาที่ประชวรด้วยไข้ทรพิษ ประมาณ 4 วัน
ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2411 กลุ่มผู้จงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ และต่อต้านอำนาจของโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ ประกาศนโยบายฟื้นฟูพระราชอำนาจแห่งจักรพรรดิ ณ พระราชวังเคียวโตะ ซึ่งต่อมาในเดือนเดียวกันนั้น กองกำลังของกลุ่มผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์จากแคว้นโจชูและแคว้นซะสึมะได้กำชัยอย่างเด็ดขาดในสงครามโทะบะ-ฟุชิมิ ซึ่งเป็นการตอกย้ำความล่มสลายของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะลงไปอีก สงครามกลางเมืองได้ปะทุขึ้นเป็นครั้งคราว จนกระทั่งกองกำลังของตระกูลโทะกุงะวะปราชัยอย่างราบคาบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 24126 กุสตาฟ อดอล์ฟ ที่ 2 (สวีเดน; 30 ตุลาคม 1611 - 6 พฤศจิกายน 1932)
กุสตาฟ
อดอล์ฟ ที่ 2 ครองราชย์สมบัติ 21 ปี กุสตาฟ อดอล์ฟ ที่ 2เป็นผู้ทำให้สวีเดนมีความเจริญรุ่งเรืองมากในยุโรปและประสบความสำเร็จทางทหาร กุสตาฟ อดอล์ฟ
ที่ 2 สิ้นพระชนจาการต่อสู้
ถึงแม้ว่าพระองค์จะสิ้นพระชนสวีเดนก็ยังถือว่าเป็นยักษ์ใหญ่ทางทหารเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ
5 จักรพรรดิเอากุสตุส (โรม 23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 19 สิงหาคม ค.ศ. 14)
อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 14
อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 14
4 พระเจ้าไซรัสมหาราช (เปอร์เซีย 576 ก่อนคริสตกาล- 530 ก่อนคริสตกาล)
พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย หรือมักเรียกกันว่า พระเจ้าไซรัสมหาราช เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอาคีเมนิด (Achaemenid Empire) ซึ่งพระองค์ทรงผนวกขึ้นจากอารยรัฐแถบตะวันออกใกล้แต่เดิม และทรงขยายจนเจริญกว้างขวางกระทั่งทรงมีชัยเหนือเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียกลางส่วนใหญ่ ยุโรปบางส่วน และคอคาซัส (Caucasus) ด้วย พระองค์จึงเฉลิมนามรัชกาลว่า "พระมหาราชผู้เป็นพระเจ้ากรุงเปอร์เซีย พระเจ้ากรุงอันชัน พระเจ้ากรุงมีเดีย พระเจ้ากรุงแบบาลอน พระเจ้ากรุงซูเมอร์กับแอแกด พระเจ้าแว่นแคว้นทั้งสี่แห่งแผ่นดินโลก" ในราวปีที่ 539 ถึง 530 ก่อนคริสตกาล พระองค์ยังได้ตราจารึกทรงกระบอก เรียก "กระบอกพระเจ้าไซรัส" (Cyrus Cylinder) มีเนื้อหาซึ่งถือกันว่าเป็นประกาศสิทธิมนุษยชนฉบับต้น ๆ ของโลกด้วย
พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย หรือมักเรียกกันว่า พระเจ้าไซรัสมหาราช เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอาคีเมนิด (Achaemenid Empire) ซึ่งพระองค์ทรงผนวกขึ้นจากอารยรัฐแถบตะวันออกใกล้แต่เดิม และทรงขยายจนเจริญกว้างขวางกระทั่งทรงมีชัยเหนือเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียกลางส่วนใหญ่ ยุโรปบางส่วน และคอคาซัส (Caucasus) ด้วย พระองค์จึงเฉลิมนามรัชกาลว่า "พระมหาราชผู้เป็นพระเจ้ากรุงเปอร์เซีย พระเจ้ากรุงอันชัน พระเจ้ากรุงมีเดีย พระเจ้ากรุงแบบาลอน พระเจ้ากรุงซูเมอร์กับแอแกด พระเจ้าแว่นแคว้นทั้งสี่แห่งแผ่นดินโลก" ในราวปีที่ 539 ถึง 530 ก่อนคริสตกาล พระองค์ยังได้ตราจารึกทรงกระบอก เรียก "กระบอกพระเจ้าไซรัส" (Cyrus Cylinder) มีเนื้อหาซึ่งถือกันว่าเป็นประกาศสิทธิมนุษยชนฉบับต้น ๆ ของโลกด้วย
3 พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 (ปรัสเซีย; 31 พฤษภาคม 1740 - 17 สิงหาคม 1786)
พระเจ้าฟรีดริชทรงมีความสนพระทัยทางศิลปะตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงพยายามหนีจาการควบคุมจากพระบิดาครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 พระราชบิดาทรงเข้มงวดจนได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์ทหาร” เมื่อยังทรงพระเยาว์ฟรีดริชทรงถูกบังคับให้ดูการประหารชีวิตอย่างทารุณของพระสหายที่ทรงรู้จักกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีแรกทรงโจมตีราชอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการีและยึดครองบริเวณไซลีเซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์ปัจจุบันซึ่งเป็นดินแดนยึดครองที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการขยายดินแดนของปรัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ราชอาณาจักรปรัสเซีย ในบั้นปลายของชีวิตพระเจ้าฟรีดริชทรงรวมอาณาจักรต่าง ๆ ที่เคยเป็นราชรัฐเล็กของปรัสเซียเข้าด้วยกันรวมทั้งดินแดนที่ทรงได้มาจากการแบ่งแยกโปแลนด์
พระเจ้าฟรีดริชทรงมีความสนพระทัยทางศิลปะตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงพยายามหนีจาการควบคุมจากพระบิดาครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 พระราชบิดาทรงเข้มงวดจนได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์ทหาร” เมื่อยังทรงพระเยาว์ฟรีดริชทรงถูกบังคับให้ดูการประหารชีวิตอย่างทารุณของพระสหายที่ทรงรู้จักกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีแรกทรงโจมตีราชอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการีและยึดครองบริเวณไซลีเซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์ปัจจุบันซึ่งเป็นดินแดนยึดครองที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการขยายดินแดนของปรัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ราชอาณาจักรปรัสเซีย ในบั้นปลายของชีวิตพระเจ้าฟรีดริชทรงรวมอาณาจักรต่าง ๆ ที่เคยเป็นราชรัฐเล็กของปรัสเซียเข้าด้วยกันรวมทั้งดินแดนที่ทรงได้มาจากการแบ่งแยกโปแลนด์
2 วิกตอเรีย (สหราชอาณาจักร 20 มิถุนายน 1837 - 22 มกราคม 1901)
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน 1837 - 22 มกราคม 1901 ทรงมีสายพระโลหิตสืบทอดมาเป็นเชื้อพระวงศ์ทั่วยุโรป เช่น สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี หรือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นต้น จนได้รับพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จย่าแห่งยุโรป" (Grandmother of Europe)
1 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (5 กันยายน พ.ศ. 2181 – 1 กันยายน พ.ศ. 2258)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ฝรั่งเศส: Louis XIV de France; หลุยส์กาโตร์ซเดอฟร็องส์) หรือเรียกว่า หลุยส์มหาราช (ฝรั่งเศส; หลุยส์ เลอ กร็อง) หรือ สุริยะกษัตริย์ธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์บูร์บงแห่งราชวงศ์กาเปเตียง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการรวมอำนาจของแผ่นดิน
ที่มา peimag