10 อูฐสองหนอก
อูฐสองหนอก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Camelus Buctrianus มันเป็นสัตว์กีบเนื้อคู่เคี้ยวเอื้องที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียกลางในปัจจุบัน สามารถพบได้ในเขตทะเลทรายโกบี ทะเลทรายทากลามากันในประเทศมองโกเลีย เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกรูย์และส่วนน้อยใน แมงกาสเตา ที่ตั้งอยู่ในประเทศคาซัคสถานเท่านั้น ปัจจุบันมีอูฐที่เลี้ยงไว้ประมาณ 1.4 ล้านตัว ส่วนอูฐที่อยู่ในป่านั้นมีจำนวนแค่ 800 ตัว เท่านั้น ทั้งนี้จำนวนนี้ที่ได้มานั้น มาจาการสำรวจเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2002 ซึ่งอาศัยอยู่ในประทศจีนทางตะวันออกเฉียงเหนือและมองโกเลียเท่านั้น ทำให้มันถูกขึ้นสถานะ “สัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างมาก”โดย IUCN ให้สาเหตุของการลดจำนวนลงนั้นมาจาก การเสียที่ยู่ ,ถูกล่า,การสร้างเหมืองที่ผิดกฎหมายแลการแข่งขันในปศุสัตว์เพื่อการทำอาหาร
9 Blue-throated Macaw
Blue-throated Macaw อาจจะเป็นเพราะ ราคาที่สูง หายาก และสีสัน เมื่อเทียบกับบลูโกลด์ สายพันธุ์นี้ในบ้านเรา จึงไม่ค่อยได้เห็นเท่าไหร่ลักษณะโดยรวม คล้ายๆกับ บลูโกลด์ ถิ่นอาศัย อยู่ในประเทศโบลิเวีย ในธรรมชาติถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤติ ถือว่าใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจาก การวางกับดัก การล่าเพื่อการค้า ความยาว 86 ซม. น้ำหนัก 1000-1500 กรัม หน้าผาก ใต้คาง และหลัง เป็นสีน้ำเงิน หน้าอก สีเหลืองเข้ม ใบหน้าสีผิวขาวอมแดง ลายขนสีเขียวเข้ม จงอยปากดำ
8 เป็ดกินปลาบราซิล (Brazilian Merganser)
เป็ดกินปลาบราซิล (Brazilian Merganser) นกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญ พันธุ์จากธรรมชาติ เป็ดกินปลาบราซิล Brazilian merganser เป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งในโลก ยังเหลือเพียงเพียง 250 ตัวในโลกใบนี้ พวกมันอาศัยอยู่ในแม่น้ำและลำธารในภาคใต้ของบราซิล ประชากรของ Brazilian merganser อาจจะยังคงลดลงเนื่องจากมีการลักลอบตัดไม้ทำให้สูญเสียที่อยู่อาศัยและการทำเหมืองแร่
7 แมวน้ำมังค์ ฮาวาย
แมวน้ำมังค์ ฮาวาย เป็นสัตว์ทะเลหายากมาก เป็นสัตว์ประจำถิ่นของหมู่เกาะฮาวาย แมวน้ำมังค์ ฮาวายอาจสูญพันธุ์ไปในอนาคตอันใกล้ เหลืออยู่ไม่เกิน 1,200 ตัวทั่วโลก ก็ถูกจัดอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์เนื่องมาจาก การล่าสัตว์ มีที่อยู่อาศัยน้อยมาก และในพื้นที่ยังมีสัตว์นักล่าอย่างฉลามที่อาศัยอยู่ซุกชุม
6 แร้งแคลิฟอเนีย
แร้งแคลิฟอเนีย (Californian Condor; Gymnogyps californianus) ที่พบกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นนกที่จัดว่าหายากที่สุด จากการสำรวจพบว่าพวกมันเหลืออยู่ในธรรมชาติเพียง 61 ตัว และอีกประมาณ 99 ตัวกระจายอยู่ในสวนสัตว์ต่างๆ ทั่วโลก
5 แรดดำ
ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 แรดดำมีจำนวนมากที่ในแรดทุกชนิด ประมาณปี ค.ศ. 1900 อาจมีแรดดำถึง 100,000 ตัว อาศัยอยู่ในแอฟริกา ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 จำนวนแรดดำลดลงอย่างรุนแรงจาก 70,000 ตัว ในตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 เป็น 10,000 ถึง 15,000 ในปี ค.ศ. 1981 ในตอนต้นของคริสต์ทศวรรษ 1990 จำนวนแรดดำต่ำกว่า 2500 ตัวและในปี ค.ศ. 2004 มีรายงานว่าเหลือเพียง 2,410 ตัว ตามองค์การกองทุนแรดสากล ประชากรแรดแอฟริกาฟื้นฟูเล็กน้อยเป็น 3,610 ในช่วงปี ค.ศ. 2003 ตามรายงานจากสหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 จากการสำรวจแรดดำแอฟริกาตะวันตกเมื่อเร็วๆนี้ที่กระจายพันธุ์ในทุ่งหญ้าสะวันนาในทางตะวันตกของแอฟริกาพบว่าลดลงเหลือเพียงแค่ 10 ตัว หรือสรุปได้ว่าชนิดย่อยนี้กำลังจะสูญพันธุ์แรดขาวเหนือก็กำลังจะสูญพันธุ์เหมือนกับแรดดำแอฟริกาตะวันตก จำนวนล่าสุดที่พบเหลือเพียงแค่ 4 ตัว แรดชนิดเดียวที่สามารถฟื้นฟูได้คือแรดขาวใต้ซึ่งมีอยู่มากกว่า 14,500 ตัวในปัจจุบันจากมากกว่า 50 ตัวเล็กน้อยในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20
แรดดำถูกคุกคามให้สูญพันธุ์จากการล่าเอานออย่างผิดกฎหมายและการสูญเสียที่อยู่ นอแรดถูกใช้ในการแพทย์แผนจีน นักสมุนไฟรกล่าวว่าสามารถฟื้นฟูผู้ป่วยหมดสติ รักษาไข้ และช่วยให้แข็งแรงและความสมบูรณ์ทางเพศในผู้ชาย
4 กอริลลาภูเขา
กอริลลาภูเขาเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นพบกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเทือกเขาวีรูงกาในเขตแดน 3 ประเทศเท่านั้น คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, รวันดา และอูกันดา โดยแบ่งออกได้เป็นฝูงทั้งหมด 3 ฝูง ฝูงแรกมีชื่อเรียกว่า "วีรูงกา" มีจำนวนประมาณ 480 ตัว อาศัยอยู่ในเทือกเขาวีรูงกาและภูเขาไฟในอุทยานแห่งชาติทางตอนเหนือของรวันดา ในป่ามงตาน ซึ่งเป็นป่าไผ่ ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 2,500–4,000 เมตร, ฝูงที่สองมีชื่อเรียกว่า "มจาฮิงจา" พบทางตอนใต้ของอูกันดา และ "บวินดี" พบในอุทยานแห่งชาติบวินดี ในอูกันดา อาศัยอยู่ในเทือกเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,500–2,300 เมตร มีประมาณ 400 ตัว โดยถือเป็นสถานที่ ๆ มีชื่อเสียงที่พบได้มากที่สุดอีกด้วย โดยจำนวนกอริลลาภูเขาในปัจจุบันในธรรมชาติมีประมาณ 880 ตัว
3 เสือโคร่งสุมาตรา
สถานะของเสือโคร่งสุมาตราในธรรมชาติก็นับว่าใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตแล้ว โดยคาดว่ามีจำนวนราว 400-450 ตัว เท่านั้น โดยสถานที่ ๆ พบมากที่สุด คือ อุทยานแห่งชาติเครินซีเซบลัท ที่อยู่ทางตะวันตกของเกาะ มีประมาณ 160 ตัว นับว่าเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรเสือโคร่งสุมาตราทั้งหมด โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสือโคร่งสุมาตราใกล้สูญพันธุ์ คือ การล่าเพื่อเอาอวัยวะต่าง ๆ ไปทำเป็นยาตามความเชื่อ โดยพรานผู้ล่าจะล่าโดยการใช้กับดักเป็นบ่วงรัดเท้า ซึ่งจะทำให้เกิดบาดแผลฉกรรจ์ อาจบาดลึกเข้าไปถึงกระดูก และตัดข้อเท้าของเสือโคร่งสุมาตราให้ขาดได้เลย
2 ลิงซ์สเปน Iberian lynx
1 เสือดาวอามูร์
เสือดาวอามูร์ นับเป็นเสือดาวและสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วชนิดหนึ่งของโลก โดยคาดว่ามีจำนวนประชากรในธรรมชาติในปัจจุบันเหลือเพียงไม่เกิน 50 ตัว โดยในกลางปี ค.ศ. 2012 มีการบันทึกภาพของเสือดาวอามูร์วัยเต็มตัวได้ที่เขาฉังไป๋ซาน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งเป็นการบ่งบอกด้วยว่าสภาพแวดล้อมของป่าแถบนี้ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่
ที่มา themysteriousworld