10 ประเพณีดำน้ำปีใหม่ ที่ ไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย
9 ประเพณี "หมีขั้วโลกกระโดด" สหรัฐอเมริกา
“หมีขั้วโลกกระโดด” เป็นงานที่จัดขึ้นในช่วงฤดูหนาว โดยผู้เข้าร่วมจะต้องลงกระโดดลง ในน้ำที่มีอุณหภูมิติดลบ ความจริงงานนี้จัดขึ้นทั่วโลก แต่จัดยิ่งใหญ่สุดอยู่ที่สวนสาธารณะ Sand Point รัฐแมรี่แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกาประจำทุกปี เพื่อนำเงินสมทุบองค์กรการ กุศล โดยผู้ร่วมสมัครจะต้องเขียนสัญญา “หากตายจะไม่ฟ้อง” เนื่องจากการลงในน้ำที่เย็น จัดอาจทำให้คนนั้นได้รับบาดเจ็บสาหัส เช่นเป็นตะคริว หรือภาวะอัมพาต หรือตายได้ แต่ กระนั้นก็มีคนบางคนกล้าทำแบบนี้
8 ประเพณี รบดอกไม้เพลิง - เกาะชิออส,กรีซ
โดยระยะห่างระหว่างโบสถ์ประมาณหนึ่งกิโลเมตร เป้าหมายของพวกเขาคือ หอระฆังของโบสถ์ฝ่ายตรงข้าม แต่พลุที่พุ่งไปนั้นก็กระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ แม้ว่าภาพที่เห็นจะดูน่าตื่นตาตื่นใจจากแสง พลุในยามค่ำคืน แต่ก็มีอันตรายมาก
7 เทศกาลโยนทารก -โชลาปูร์ ประเทศอินเดีย
“เทศกาลโยนทารก” เป็นเทศกาลของชาวอินเดียในเมืองโชลาปูร์ ประเทศอินเดีย โดยชาวฮินดูและชาวมุสลิมจัดพิธีกรรมโยนเด็กๆ อายุประมาณ 2 ขวบ รวบมือและเท้า เขย่า ตัวในอากาศก่อนโยนลง จากที่สูงจากชั้นบนของหลังคาสุเหร่าบาบา อูเมอร์ ดูร์กา ซึ่งมีความ สูงกว่า 15 เมตร ลงมายังผ้าที่มีเหล่าผู้ใหญ่ชายหนุ่ม 14 คน ขึงรับอยู่ด้านล่าง ซึ่งเป็นประเพณี ที่ปฏิบัติกันมานานเกือบ 700 ปี ด้วยความเชื่อว่าจะทำให้เด็กสุขภาพดี และนำโชคดีมาสู่ ครอบครัว ทั้งยังเป็นการแก้เคล็ดเนื่องเด็กอินเดียมีอัตราเสียชีวิตสูง โดยเด็กแต่ละคนกรีดร้องเสียงหลงอย่างเสียขวัญ ด้านผู้จัดงานครั้งนี้ ยืนยันว่าไม่มีเด็กคนใด ได้รับบาดเจ็บ แต่นักสิทธิมนุษยชนเห็นว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงที่จะป้องกัน การกระทำนี้ที่เสี่ยง ต่อสุขภาพของเด็ก ปล่อยให้ชาวบ้านทำเรื่องที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล
6 เทศกาลกลิ้งชีส- กลอสเตอร์,ประเทศอังกฤษ
5 Onbashira เทศกาลเสาเกียรติยศหรือเทศกาลแห่งความกล้าหาญ - กรุงโตเกียว,ประเทศญี่ปุ่น
เทศกาลเสาเกียรติยศหรือเทศกาลแห่งความกล้าหาญ เป็นเทศกาลในนากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดขึ้นเพียงหนึ่งครั้งในรอบหกปี (ในปีขาลและปีวอกตามปฏิทินราศีของจีน) ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมและครั้งที่สองในเดือนเมษายน โดยส่วนที่เป็นอันตรายของ เทศกาลคือชาวบ้านจะเข้าไปในป่าแล้วตัดต้นไม้ใหญ่มาจากภูเขาแล้วใช้เชือกมัดกับต้นไม้ จากนั้นพวกเขาก็ลากเชือกพร้อมต้นไม้ลงจากภูเขา เพื่อสร้างอนุสรณ์รอบๆ ทั้ง 4 มุมของ ศาลเจ้า Suwa Taisha Shrine โดยเทศกาลนี้มีเหล่าคนหนุ่มซึ่งมีความกล้าหาญจาก 6 หมู่บ้านในแถบเมืองซุวะ ร่วม 210,000 คน เข้าร่วมงานเทศกาลศักดิ์สิทธ์แห่งนี้ ส่วนที่มาของเทศกาลนี้ไม่มีใครทราบ แต่จากหลักฐานจากภาพวาดเขียนไดเมียวจินซุวาโกะในสมัยมุโรมาชิ พบว่าจักรพรรดิในสมัย เฮอัน (ปี 781-806) ได้มีรับสั่งให้สร้างศาลเจ้าในปีเสือและวอกจึงว่ากันว่าเป็นต้นกำเนิด ของเทศกาลซึ่งหลายคนบอกว่านี้เป็นเทศกาลแห่งความกล้าหาญ แต่ก็มีรายงานผู้ได้รับ บาดเจ็บและเสียชีวิตในขณะเข้าร่วมเทศกาลมากมายหลายราย
4 เทศกาลโยนแพะ - สเปน
ที่เมือง Manganeses de la Polvorosa ซาโมรา ประเทศสเปน จะมีการจัดงานเทศกาลนี้เพื่อเฉลิมฉลองให้กับแพะชื่อดังในประวัติศาสตร์เมือง เรื่องมีอยู่ว่า มีพระรูปหนึ่งซึ่งเลี้ยงแพะเอาไว้ ทุกๆ วันเขาจะพาแพะเดินไปตามที่ต่างๆ เพื่อเอานมของมันให้กับคนยากไร้ อย่างไรก็ตาม วันหนึ่ง แพงตัวนี้หนีขึ้นไปบนหอระฆัง เมื่อระฆังดังขึ้นมามันก็ตกใจมากจนวิ่งตกลงมาจากหอคอย แต่โชคดีที่ด้านล่างมีคนผ่านไปมาที่ถือผืนผ้าใบอยู่จึงรับมันเอาไว้ได้พอดี และแพะตัวนี้ก็รอดชีวิต แต่สำหรับแพะผู้โชคร้ายที่โดนเอามาโยนในงานเฉลิมฉลองนี้ส่วนมากไม่ได้โชคดีแบบแพะต้นเรื่องและตกลงมาตายเสียส่วนมาก ปัจจุบันนี้เทศกาลนี้ถูกแบนไปตั้งแต่ปี 2002 แล้ว แต่เชื่อว่ายังมีคนแอบทำกันอยู่ดี
3 Yanshui Beehive Rockets Festival – ไต้หวัน
ตามประเพณี 15 วันหลัง จากปีใหม่ ตามปฎิทิน จีนจันทรคติ ดอกไม้ไฟถูกยิงไปยังฝูงชนใน Yanshui ไต้หวัน ซึ่งแตกต่างจากสถานที่อื่น ๆ แล้วได้มีการพัฒนาประเพณีนี้ใหม่ที่น่าสนใจประเพณีที่คนหนุ่มสาวที่ดูเหมือนจะสนุกอย่างทั่วถึง
2 เทศกาลซานเฟอร์มิน ที่เมืองปามโปลน่า ประเทศสเปน
เป็นที่รู้จักในชื่อเทศกาลวิ่งวัวกระทิง จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1910 จัดขึ้นเป็นประจำตั้งแต่วันที่ 7-14 กรกฎาคมของทุกปี ใน 8 วันของเทศกาล 9 วัน จะมีผู้คนจำนวนมากทั้งใน และต่างประเทศเดินทางมาเข้าร่วม แออัด ในถนนของเมืองถูกสร้างสิ่งกีดขวางไว้
คนที่ร่วมแข่งขันแต่งชุดพื้นเมืองสีขาว ผูกผ้า คลุมเอวและผ้าพันคอสีแดง เพื่อรอสัญญาณเตรียมวิ่งหนีการไล่ขวิดของวัวกระทิงที่ถูกปล่อย ออกมาหกตัว ให้วิ่งอุตลุดไปตามถนนแคบๆ
การแข่งขันกินเวลาเพียง 2-3 นาที แต่ในแต่ละปีมีผู้บาดเจ็บเป็นร้อยและมีผู้เสียชีวิตเกิน โหลทุกวัน จะมีการปล่อยวัวกระทิงไปจนถึงวันสุดท้ายของเทศกาล และระยะทางการวิ่งจะอยู่ที่ประมาณ 846 เมตร โดยมีเวลาวิ่งเฉลี่ยตั้งแต่จุดเริ่มไปจนถึงเส้นชัยประมาณสามนาที วัวจะวิ่งจากคอกไปจนถึงสนามสู้วัวกระทิงที่พวกมันจะต้องสู้กับนักสู้วัวกระทิงในตอนบ่ายวันเดียวกัน และปัจจุบันมีกลุ่มคนที่ต่อต้านเทศกาลนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมองว่าเป็นการทารุณ กรรมสัตว์
1.ประเพณีรับน้องโหด
ประเพณีรับน้องโหดนี้มีอยู่ทั่วโลก เราเรียกประเพณีเหล่านี้ ว่า College Hazing มีความหมายว่าพิธีกรรมหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ล่วงละเมิดหรือทำให้ผู้เข้าร่วมอัปยศอดสู่ เช่น เปลือยกาย โดยพิธีกรรมเหล่านี้พบในรูปแบบแตกต่างกันในสังคมกลุ่ม เช่น คลับ, ทีมกีฬา, หน่วยทหาร, สถานที่ทำงาน, สถานศึกษาพบมากในอเมริกาและแคนาดา เชื่อว่าประเพณีการรับน้องมี รากเหง้ามาจากทวีปยุโรปในสมัยกลางประมาณ 700 ปีก่อนโดยเชื่อว่าน้องใหม่ที่เข้ามาเรียน ในมหาวิทยาลัยยังขาดการศึกษาไม่เป็นอารยะชนต้องผ่านการขัดเกลาด้วยความลำบากก่อน ที่จะได้รับชีวิตใหม่ที่ดีในมหาวิทยาลัย เพื่อให้รู้จักประพฤติตัวให้เหมาะสมก็จะถูกบังคับให้ใส่ ชุดแปลกๆ ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกเล่นตลกที่หยาบคายหรือรีดไถเงินหรืออาหารมื้อเย็น สองร้อยปีต่อมาระบบนี้ก็ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วยุโรป แต่ว่าเป็นระบบที่อันตราย มีการบันทึกในเรื่องคนเจ็บ และคนตายจนผู้ปกครองนักศึกษา หวาดกลัวประเพณีนี้มาก ปัจจุบันพิธีกรรมเหล่านี้ผิดกฎหมาย เนื่องจากทำให้ผู้เข้าร่วม กิจกรรมเกิดอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจ ส่วนภาพข้างบนคือภาพพิธีรับน้องใหม่ที่บังดุง ประเทศอินโดนีเซีย
ที่มา peimag