10. โลมาแม่น้ำจีน
โลมาแม่น้ำจีน เป็นโลมาน้ำจืด อาศัยอยู่ในแม่น้ำแยงซีตอนกลางและตอนล่างของประเทศจีน รวมทั้งแม่น้ำเชียนถังที่อยู่ใกล้เคียง มีผู้เห็นโลมาแม่น้ำจีนครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 2004 ก่อนหน้านั้นโลมาแม่น้ำจีนตัวผู้ชื่อ "ชีชี" ที่สถาบันไฮโดรไบโอโลยีแห่งอู่ฮั่น เลี้ยงไว้ตายลงเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2002 ซึ่งชีชีเป็นโลมาแม่น้ำจีนที่ชาวประมงจับได้โดยบังเอิญในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1980 มีความพยายามของนักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันแห่งนี้ที่จะผสมพันธุ์กับโลมาแม่น้ำจีนตัวเมียหลายต่อหลายครั้ง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งได้มีการเก็บรักษาเซลล์ของชีชีไว้เพื่อที่ทำการโคลนนิ่งและเมื่อปี ค.ศ. 2007 มีนักสำรวจกลุ่มหนึ่งได้ล่องเรือสำรวจโลมาแม่น้ำจีน ไม่ปรากฏพบเจอหรือร่องรอยเลย จึงเชื่อว่าได้สูญพันธุ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วจากโลกนี้
9. เสือเขี้ยวดาบ Saber Toothed tiger
เสือเขี้ยวดาบ สัตว์ตระกูลแมวที่มีเขี้ยวยาวที่สุดในโลก และเมื่อมันกัดเข้าไปที่คอเหยื่อ เหยื่อจะตายในทันทีเพราะเขี้ยวมันยาวและแทงลึกถึงหลอดลม แต่อย่างไรก็ตามสไมโลดอนก็ยังมีขนาดที่เล็กกว่านักล่าตระกูลแมวใหญ่ทั่วไปเนื่องจากมันมีขนาดเท่ากันกับสิงโตแอฟริกาในปัจจุบัน แต่ขนาดที่เล็กก็ยังทำให้มันวิ่งได้เร็วและคล่องแคล่วว่องไว หลังจากการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์และโลกเข้าสู่ยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ก็ได้มีนักล่าสายพันธุ์ต่างๆ ปรากฏขึ้นมามากมาย โดยเสือเขี้ยวดาบถือเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนักล่าที่โดดเด่นและน่าสะพรึงกลัวที่สุดพวกหนึ่งที่เคยท่องเที่ยวอยู่บนโลกใบนี้
แม้ว่าวิวัฒนาการของพวกเสือเขี้ยวดาบจะเป็นการสร้างลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นเพื่อให้เหมาะกับการล่าเหยื่อขนาดใหญ่ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในยุคของมัน ทว่านี่ก็เป็นสาเหตุหลักที่นำพวกมันไปถึงทางตัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกได้ทำเหยื่อที่เหมาะสมกับพวกมันสูญพันธุ์ไปหมดเมื่อ 12000 ปีก่อน จึงทำให้พวกเสือเขี้ยวดาบต้องสูญพันธุ์ตามไปด้วย
8. แรดขน Woolly Rhino
แรดขน หรือ ซีโลดอนต้า อุทิลลิเซอร์โร่ เป็นแรดโบราณสายพันธุ์หนึ่งที่มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคไพลโอซีน (Pliocene) จนถึงต้นยุคโฮโลซีน (Holocene) พวกมันเป็นดาวเด่นตัวหนึ่งแห่งยุคน้ำแข็ง ที่มีคนรู้จักไม่แพ้แมมมอธ อย่างไรก็ตาม ชื่อ ซีโลดอนต้า ไม่ค่อยเป็นรู้จักกันนัก คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ Woolly Rhino หรือแรดขน แรดขนเคยอาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่เอเชียจนถึงยุโรป จากฟอสซิลยุคแรกๆ เชื่อว่า พวกมันมีต้นกำเนิดในเอเชียกลาง ก่อนที่จะอพยพและแพร่พันธุ์ออกไปไกลถึงยุโรปในช่วงยุคน้ำแข็ง (Pleistocene) พวกมันมีจุดเด่นที่ขนหนาปกคลุมร่างกาย ที่ช่วยป้องกันมันจากความหนาวเหน็บของยุคน้ำแข็ง อีกทั้งยังมีโหนกอยู่ที่หลังซึ่งเชื่อว่า มีไว้เพื่อกักเก็บไขมันไว้เป็นพลังงานสำรองสำหรับฤดูหนาวที่ยาวนาน และขาดแคลนอาหาร จุดเด่นอีกอย่างของมัน คือ นอขนาดใหญ่ที่ปลายจมูก เมื่อมันโตเต็มที่ นอเหล่านี้จะยาวได้ถึง 2 เมตร เชื่อกันว่า พวกมันใช้เป็นสิ่งดึงดูดเพศตรงข้าม และอาจใช้กวาดหิมะที่อยู่ตามพื้นดิน เพื่อหาพืชต่างๆที่ถูกฝังอยู่ใต้หิมะเป็นอาหาร ซากที่สมบูรณ์ที่สุดของแรดขน ถูกค้นพบที่หลุมน้ำมันดิบในประเทศโปแลนด์ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับพวกมันได้มากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ มีเพียงภาพวาดในถ้ำของมนุษย์ยุคโบราณเท่านั้น ที่คอยบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับแรดขนที่สง่างามเหล่านี้
7.นกพิราบพาสเซนเจอร์ Passenger pigeon
ในทวีปอเมริกาเหนือ เมื่อ 500 ปีก่อน เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ผู้คนจะเห็นนกพิราบพาสเซนเจอร์จำนวนนับล้าน ๆ ตัว บินรวมฝูงจนแทบจะทำให้ท้องฟ้ามือมิดไปชั่วขณะ และที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว มีนกพิราบชนิดนี้อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือมากกว่า 5,000 ล้านตัวชะตากรรมที่เลวร้ายของฝูงนกเริ่มขึ้นตั้งแต่ชาวผิวขาวที่อพยพมาอยู่ในทวีปนี้ค้นพบว่า เนื้อของนกเหล่านี้มีรสชาติอร่อยเป็นเลิศเพียงใด พวกเขาได้ล่านกพิราบพาสเซนเจอร์ไปเป็นจำนวนมหาศาลด้วยวิธีการหลากหลาย ตั้งแต่การใช้ปืนยิง ใช้ตาข่ายขึงไว้ระหว่างต้นไม้สูงเพื่อดักจับฝูงนกที่บินผ่าน จนกระทั่งบางครั้งพวกทหารถึงกับใช้ปืนใหญ่บรรจุลูกปรายยิงเข้าใส่ฝูงนกและสังหารพวกมันลงนับพันตัวในการยิงครั้งเดียว เพื่อนำเนื้อมาเลี้ยงทหารทั้งกองร้อย นอกจากนี้มนุษย์ยังตัดไม่ทำลายป่าที่เป็นที่อยู่อาศัยของมันเพื่อเก็บไข่และลูกนกในรังไปเป็นอาหาร การทำไร่ และปศุสัตว์
จากที่เคยมีหลายพันล้านตัว ก็ค่อยๆหายไปเรื่อยๆ จนกระทั่งใน ปี ค.ศ. 1914 ชะตากรรมของนกชนิดนี้ก็มาถึงจุดสุดท้าย โดย นกพิราบพาสเซนเจอร์เพศเมีย ชื่อ มาร์ธา ซึ่งถูกเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์ซินซินนาติ ได้ตายลง และนั่นคือ นกพิราบพาสเซนเจอร์ตัวสุดท้ายที่เหลืออยู่ในโลก
6. เสือไทลาซีน Tasmanian Tiger
ไทลาซีน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ เสือแทสเมเนีย เนื่องจากมีลายทางที่หลังคล้ายเสือ และลักษณะคล้ายหมาป่าหรือสุนัข ในอดีตไทลาซีนเคยเป็นสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องประเภทกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีถิ่นฐานอยู่ในออสเตรเลีย รัฐแทสเมเนีย และนิวกินี
ไทลาซีนสูญพันธุ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีบันทึกไว้ว่า ไทลาซีนตัวสุดท้ายที่สวนสัตว์โฮบาร์ต ชื่อ "เบนจามิน" ได้ตายลงเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1936 เนื่องจากถูกละเลย ขาดการดูแลรักษา และถูกประกาศสถานะสูญพันธุ์โดย IUCN ในปี ค.ศ. 1982 และโดยรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐแทสเมเนียในปี ค.ศ. 1986 หลังจากไทลาซีนสูญพันธุ์ มาร์ซูเปียลกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ แทสเมเนียนเดวิล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 เป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์ได้จัดตั้งโครงการรวบรวมตัวอย่างทางพันธุกรรมจากไทลาซีนที่ถูกสตัฟไว้ทั่วโลก เพื่อหาหนทางที่จะทำการโคลนนิงไทลาซีนให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
ในปลายปี ค.ศ. 2016 ได้มีการเผยแพร่ภาพจากกล้องติดตามสัตว์ป่าของคณะนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ที่ทำการติดตั้งไว้ในพุ่มไม้ในเขตป่าของรัฐวิกตอเรีย ทางตอนใต้ของออสเตรเลีย ปรากฏเห็นภาพของสัตว์ตัวหนึ่งที่มีรูปร่างเหมือนหมาป่าหรือสุนัข แต่มีส่วนหางแข็งตรงเหมือนลักษณะของไทลาซีน จึงอาจยืนยันได้ว่าไทลาซีนยังมิได้สูญพันธุ์ แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้ แต่ทว่าก็มีพยานพบเห็นอีกหลายราย แต่ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าคือ ไทลาซีนจริง ๆ ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยเจมส์คุก จึงได้มีโครงการตามหาการมีอยู่จริงของไทลาซีนขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2017
5. นกโมอา นกโมอา
นกโมอา เคยอาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธ์ไปหมดแล้ว มีความเกี่ยวข้องกับนกอีมูจากออสเตรเลีย ในช่วงศตวรรษที่ 1800 ถึงต้นศตวรรษที่ 1900 มีหลายสายพันธุ์ของนกโมอาอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์สรุปอย่างเป็นทางการได้ว่ามีอยู่ประมาณ 10-12 ชนิด
จากการศึกษาดีเอ็นเอ ของนกโมอา ได้มีการค้นพบว่านกโมอาตัวเมียกับตัวผู้มีความแตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นทางขนาดลำตัวรึขนาดของกระดูก ตัวเมียมีขนาดที่ใหญ่กว่าและสูงกว่าตัวผู้อยู่ประมาณร้อยละ 150 และมีน้ำหนักกว่าร้อย 280 เหตุผลนี้ทำให้ตอนแรกมีการเข้าใจผิดคิดว่าโครงกระดูกที่ถูกค้นพบนี้เป็นของนก 2 ชนิด โครงกระดูกที่ถูกค้นพบได้ถูกนำมาประกอบกันแล้วจัดแสดงอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศนิวซีแลนด์ ศัตรูหลักที่ทำให้นกโมอาสูญพันธุ์คือนกอินทรีฮาสท์ จนกระทั่งมนุษย์ได้เข้ามาบนเกาะนิวซีแลนด์ ชาวมาวรีได้เริ่มเข้ามาในช่วง ค.ศ. 1300 และได้เริ่มการล่านกโมอาจนเริ่มสูญพันธุ์ ประมาณ ค.ศ. 1400 นกโมอาได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วรวมไปถึงนกอินทรีฮาสท์ซึ่งสูญพันธุ์ไปด้วยเนื่องจากไม่มีนกโมอาให้กิน
4. กบเลี้ยงลูกในกระเพาะ Gastric-brooding Frog
กบเลี้ยงลูกในกระเพาะ gastric-brooding frogs มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rheobatrachus silus พวกมันมีเพียง 2 สายพันธุ์เท่านั้น กบเลี้ยงลูกในกระเพาะ นี้มีถิ่นที่อยู่อาศัยในรัฐควีนแลนด์ ของ ประเทศออสเตรเลีย เท่านั้น
แต่เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่พวกมัน ถูกระบุว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากรายงานของ IUCN โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์นั้นไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่ คาดว่าน่าจะเป็นผลมาจาก การคุกคามที่อยู่อาศัย ของ พวกมันโดยมนุษย์ จากมลภาวะ จากโรคพยาธิ บ้างว่าจากเชื้อรา chytrid แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้สาเหตุโดยรวมนั้นเกิดจากกิจกรรมของพวกเราที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ อย่างกะทันหัน
3.โดโด
โดโด เป็นนกท้องถิ่นที่พบได้เฉพาะบนหมู่เกาะมอริเชียสในมหาสมุทรอินเดีย เป็นนกที่บินไม่ได้อยู่ในตระกูลเดียวกับนกพิราบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raphus cucullatus ในปี พ.ศ. 2048 ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่พบ และเพียงประมาณปี พ.ศ. 2224 มันก็สูญพันธุ์อย่างรวดเร็วโดยมนุษย์ รวมถึงสุนัขล่าเนื้อ หมู หนู ลิง ที่ถูกนำเข้าโดยชาวยุโรป โดโดไม่ใช่นกเพียงชนิดเดียวในมอริเชียสที่สูญพันธุ์ในศตวรรษนี้ จากนกกว่า 45 ชนิดที่พบบนเกาะ มีเพียง 21 ชนิดเท่านั้นที่เหลือรอด นกสองชนิดซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับโดโดก็สูญพันธุ์ไปเช่นกัน คือ Reunion solitaire ประมาณปี พ.ศ. 2289 และ Rodrigues solitaire ประมาณปี พ.ศ. 2333 เมื่อทศวรรษ พ.ศ. 2533 วิลเลียม จ. กิบบอนส์ นำคณะสำรวจขึ้นค้นหาบนเขาบนเกาะมอริเชียส แต่ก็ไม่มีใครค้นพบ จึงประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการ
2.บูคาร์โด Bucardo
บูคาร์โด เป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับแพะ มีขนาดใหญ่ สง่างาม ตัวผู้มีเขาโง้งยาวอ่อนช้อย น้ำหนักตัวอาจมากถึง 99 กิโลกรัม ในอดีต บูคาร์โดหรือพีเรเนียนไอเบ็กซ์จำนวนมากอาศัยอยู่บนเทือกเขาพีเรนิสและเดินทางหากินข้ามไปมาระหว่างสเปนกับฝรั่งเศส ไอเบ็กซ์เหล่านี้หากินบนเขาสูงและมีความระวังตัวอย่างมาก ทำให้การล่ามันด้วยอาวุธแบบโบราณทำได้ค่อนข้างลำบาก จนกระทั่งปืนเข้ามาสู่ดินแดนนี้เมื่อหลายร้อยปีก่อน การล่าบูคาร์โดก็ทำได้ง่ายขึ้น ประกอบกับเนื้อของมันมีรสชาติอร่อยและเป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลาย ทำให้แพะป่าสายพันธุ์นี้ถูกมนุษย์สังหารด้วยปืนไปเป็นจำนวนมากตลอดเวลานับศตวรรษ จนเมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ จำนวนของพีเรเนียนไอเบ็กซ์ได้ลดจำนวนลงจนเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยตัว
ในปี ค.ศ.1989 มีรายงานว่า เหลือพีเรเนียนไอเบ็กซ์หรือบูคาร์โดอยู่เพียงสิบกว่าตัว จากนั้นในอีกสิบปีต่อมา ก็เหลือบูคาร์โดเพศเมียอยู่เพียงตัวเดียวเท่านั้น มันถูกตั้งชื่อว่า ซีเลีย ทีมเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติออร์เดซาและมอนเตเปร์ดีโอของสเปนได้จับซีเลียมาใส่ปลอกคอวิทยุติดตาม ก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ทว่าอีกเก้าเดือนต่อมา ในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2000 ได้มีเจ้าหน้าที่พบศพของซีเลียถูกต้นไม้ทับเสียชีวิต ในป่าทางตอนเหนือของสเปนและนั่นคือการสูญพันธุ์ครั้งแรกของบูคาร์โดหรือพีเรเนียนไอเบ็กซ์
1.แมมมอธ
เชื่อว่า แมมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะถูกล่าโดยมนุษย์จนหมด แต่จากการศึกษาด้านพันธุกรรมศาสตร์และดีเอ็นเอพบว่า แมมมอธนั้นมีสายสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ Elephas หรือช้างเอเชียที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน จึงมีความพยายามจากนักวิทยาศาสตร์ที่จะโคลนนิงตัวอ่อนของแมมมอธให้เกิดขึ้นมาให้ได้ โดยให้แม่ช้างเอเชียเป็นฝ่ายอุ้มท้อง จากการสกลัดนิวเคลียสจากซากดึกดำบรรพ์ของลูกแมมมอธที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะถูกแช่แข็งในน้ำแข็ง จากไขกระดูกบริเวณต้นขา และจากหลักฐานใหม่ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า แมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากกว่า โดยประชากรในยุโรปเกือบสูญพันธุ์ไปก่อนหน้านั้นเมื่อ 20,000-30,000 ปีก่อน จากนั้นเมื่อ 14,000 ปีก่อน โลกเริ่มมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น จึงพากันสูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพร่างกายที่ใหญ่และมีขนยาวปกคลุมลำตัว