10 ดอกบุกยักษ์
ดอกบุกยักษ์ หรือ ดอกซากศพ Titan arum เป็นพืชที่มีดอกลักษณะคล้ายกับองคชาต ซึ่งจะบาน 72 ชั่วโมง และมีกลิ่นเหม็นคล้ายปลา เนื้อสัตว์เน่า เพื่อป้องกันตัวมันไม่ให้ถูกสัตว์กินจึงเป็นที่มาของดอกซากศพ ดอกไม้ชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1878 ทางหมู่เกาะสุมาตรา สูงโดยเฉลี่ยราว 1.6 เมตร
9 บุกคางคก
บุกคางคก ชื่ออื่นๆ ได้แก่ มันซูรัน (กลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ(สกลนคร) กระบุก(บุรีรัมย์) บุกรอ หัววุ้น เป็นพืชล้มลุก เจริญเติบโตในฤดูฝน และพักตัวในฤดูหนาว มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ สีน้ำตาล อายุหลายปี ลำต้นกลม อวบน้ำ ผิวขรุขระ มีลายสีเขียวสีแดงใบเดี่ยว ออกที่ปลายยอด ใบแผ่ออกคล้ายกางร่มแล้วหยักเว้าเข้าหาเส้นกลางใบ ขอบใบจักเว้าลึก กลม อวบน้ำ ดอกออกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน บริเวณโคนต้น เป็นแท่งมีลายสีเขียวหรือสีแดงแกมสีน้ำตาล ดอกช่อ แทงออกมาจากหัวใต้ดิน ช่อดอกมีกาบหุ้ม ลักษณะเป็นแท่งสีแดงแกมน้ำตาล ก้านช่อดอกสั้น มีใบประดับ รูปกรวยหุ้มช่อดอก ขอบหยักเป็นคลื่น และบานออก ปลายช่อ ดอกเป็นรูปกรวยคว่ำขนาดใหญ่ ยับเป็นร่องลึก สีแดงอมน้ำตาลหรือสีม่วงเข้ม ดอกตัวผู้อยู่ตอนบน ดอกตัวเมียอยู่ตอนล่าง มีกลิ่นเหม็นคล้ายซากสัตว์เน่า ผลรูปทรงรียาว มีจำนวนมากติดกันเป็นช่อ หัวบุกมีลักษณะค่อนข้างกลม เนื้อในหัวสีชมพูสด เหลืองอมชมพู หรือขาวเหลือง ผลสด เนื้อนุ่ม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเป็นสีเหลือง สีส้มจนถึงแดง
8 บัวผุด
บัวผุด หรือ บัวตูม เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนรากของพืชจำพวกสกุลเครือเขาน้ำ (Tetrastigma) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าย่านไก่ต้ม มีลักษณะเด่นที่ดอกซึ่งเป็นดอกเดียวขึ้นจากพื้นดินมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเหม็นมาก ให้เห็นระหว่างฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ดอกตูมอยู่จะคล้ายกับหม้อขนาดใหญ่มีกลีบหนาจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 70-80 เซนติเมตร ที่โคนของดอกมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลมจานนี้จะซ้อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง ดอกจะบานอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ ดำเน่าไป
7 กาบหอยแครง Venus Flytrap
กาบหอยแครง เป็นพืชกินสัตว์ที่ดักจับและย่อยกินเหยื่อที่จับได้ซึ่งส่วนมากเป็นแมลงและแมง กาบหอยแครงมีโครงสร้างกับดักคล้ายคล้ายบานพับแบ่งออกเป็น 2 กลีบ อยู่ที่ปลายใบของแต่ละใบ และมีขนกระตุ้นบางๆบนพื้นผิวด้านในกับดัก เมื่อแมลงมาสัมผัสขนกระตุ้นสองครั้ง กับดักจะงับเข้าหากัน การที่ต้องการสิ่งกระตุ้นที่ซับซ้อนนี้ก็เพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงานไปกับการดักจับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาหาร ชื่อ Venus Flytrap นั้นอ้างอิงถึงเทพีวีนัส เทพีแห่งความรักของชาวโรมัน ขณะที่ชื่อสกุล Dionaea (เทพีไดโอนี Dionaea เป็นสกุลที่มีเพียงชนิดเดียวและเป็นญาติใกล้ชิดกับ Aldrovanda vesiculosa และสกุลหยาดน้ำค้าง) กาบหอยแครงจะพบในสิ่งแวดล้อมที่มีไนโตรเจนต่ำ เช่น หนองน้ำ หรือทุ่งหญ้าสะวันนาที่เปียกชื้น กาบหอยแครงมีต้นเตี้ย โตช้า ทนไฟได้ดีและการเผาไหม้จากไฟป่าเป็นระยะๆเป็นการช่วยกำจัดคู่แข่งของมัน มันรอดได้เพราะขึ้นในดินทรายที่เปียกชื้นและถ่านหินเลน แม้ว่ามันจะประสบความสำเร็จในการปลูกย้ายและเติบโตในหลายๆพื้นที่ของโลก
6 หม้อข้าวหม้อแกงลิง
หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นพืชกินสัตว์ประเภทหนึ่ง มีมากกว่า 160 ชนิด และลูกผสมอีกมากมาย พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนชื้น ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซียและฟิลิปปินส์; ทางตะวันตกของมาดากัสการ์ (2 ชนิด) และเซเชลส์ (1 ชนิด) ; ตอนใต้ของออสเตรเลีย (3 ชนิด) และนิวแคลิโดเนีย (1 ชนิด) ; ตอนเหนือของอินเดีย (1 ชนิด) และศรีลังกา (1 ชนิด) พบมากที่บอร์เนียว และ สุมาตรา มักพบขึ้นตามที่ลุ่ม แต่ในระยะหลังหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดใหม่ ๆ มักพบตามภูเขาซึ่งมีอากาศร้อนตอนกลางวันและหนาวเย็นตอนกลางคืน ส่วนชื่อหม้อข้าวหม้อแกงลิง มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าลิงมาดื่มน้ำฝนจากหม้อของพืชชนิดนี้
5 ต้นหยาดน้ำค้าง
ต้นหยาดน้ำค้าง Sundew เป็นพืชกินสัตว์สกุลใหญ่สกุลหนึ่ง ในวงศ์หญ้าน้ำค้าง มีประมาณ 194 ชนิด สามารถล่อ จับ และย่อยแมลงด้วยต่อมเมือกของมันที่ปกคลุมอยู่ที่ผิวใบ โดยเหยื่อที่จับได้จะใช้เป็นสารเสริมทดแทนสารอาหารที่ขาดไป พืชในสกุลหยาดน้ำค้างมีหลายรูปแบบและหลายขนาดต่างกันไปในแต่ละชนิด สามารถพบได้แทบทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ชื่อวิทยาศาสตร์ของหยาดน้ำค้าง คือ Drosera มาจากคำในภาษากรีก δρόσος: "drosos" แปลว่า "หยดน้ำ หรือ น้ำค้าง" รวมทั้งชื่อในภาษาอังกฤษ "sundew" กลายมาจาก ros solis ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า "น้ำตาพระอาทิตย์" โดยมีที่มาจากเมือกบนปลายหนวดแต่ละหนวดที่แวววาวคล้ายน้ำค้างยามเช้า
ในประเทศไทยพบหยาดน้ำค้างอยู่ 3 ชนิดคือ จอกบ่วาย (Drosera burmannii Vahl), หญ้าน้ำค้าง (Drosera indica L.) และ หญ้าไฟตะกาด (Drosera peltata Sm.
4 ต้นสแทรงเกลอร์ ฟิก Strangler fig
ต้นสแทรงเกลอร์ ฟิก Strangler fig คือกาฝากชนิดหนึ่ง เป็นไม้เถาวัลย์อาศัยดูดซับสารอาหารจากต้นไม้อื่นและเจริญเติบโตขึ้นอย่าง ช้าๆ เหมือนกาฝาก แต่ขนาดใหญ่กว่ามากพอๆกับต้นที่มันเกาะอาศัยอยู่ทีเดียว รากของมันไม่ได้แค่เกาะไปกับต้นไม้ที่มันอาศัย แต่จะพันรัดไปรอบทั้งลำต้นเลยทีเดียว จนในที่สุดโอบรัดต้นไม้ใหญ่และสังหารต้นที่มันอาศัยเสียเมื่อตัวมันเติบโตเต็มที่ ทำให้ได้ฉายา Strangler (สแทรงเกลอร์ฟิก) หรือนักบีบรัด นั่นเอง
3 เห็ดปุยฝ้าย
เห็ดปุยฝ้าย มีลักษณะแตกต่างจากเห็ดโดยทั่วไป โดยเป็นเห็ดที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ซึ่งเป็นเห็ดที่มีขนาดใหญ่ บริเวณดอกเห็ดจะมีรูอยู่หลายรู เป็นทรงกลมมีเส้นสีขาวฟูฟ่องอยู่ สามารถใหญ่ได้ถึงประมาณ 30 เซนติเมตรเลยทีเดียว โดยดอกเห็ดเมื่ออ่อนจะมีสีขาวไม่มีขน แต่เมื่อเริ่มเป็นดอกแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ และแตกเป็นขนฝอยๆ ห้อยลงมา ดูคล้ายๆ กับหัวลิง นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อเห็ดหัวลิงนั่นเอง
2 เลือดมังกร (Dragon’s Blood)
เลือดมังกร เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ใทวีปออสเตรเลีย ส่วนที่นำมาใช้ในการผลิตเครื่องสำอางคือยางของต้นเลือดมังกรเป็นที่รู้จักกันในวงการความงามว่า เลือดมังกรนั้นมีคุณสมบัติอันโดดเด่นในเรื่องการช่วยชะลอและลดเลือนริ้วรอย ยกกระชับผิวหน้า ปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ รังสียูวี มลภาวะที่เป็นพิษ ฟื้นฟูผิวที่ถูกทำลาย พร้อมทั้งกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และอีลาสตินช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ พร้อมเติมความชุ่มชื้นให้แก่ผิวสวย ยางของต้นเลือดมังกรได้ถูกนำมาสกัดและเป็นสาระสำคัญที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีประสิทธิภาพสูงในการต้านอนุมูลอิสระและฟื้นฟูสภาพผิวที่ถูกทำลาย ผ่านการรับรองจาก Ecocert ไม่มีส่วนประกอบของสารกันเสียพาราเบน (Paraben Free) สามารถใช้ได้เป็นประจำทุกวัน เมื่อใช้เป็นประจำริ้วรอยที่มองเห็นชัดจะแลดูลดเลือนลง ผิวดูเรียบเนียนกระชับ เปล่งปลั่งสดใส ทำให้ผิวชุ่มชื้น เนื้อเจลบางเบา ไม่ทำให้เหนียวเหนอะหนะ ไม่อุดตันรูขุมขน
1 เวลวิชเซีย
เวลวิชเซีย เป็นพืชเพียงชนิดเดียวในสกุลเวลวิชเซีย เป็นพืชที่พบในทะเลทราย ชื่ออื่นๆของต้นไม้นี้ในภาษาต่างๆได้แก่ kharos/ khurub ใน ภาษานามา tweeblaarkanniedood ใน ภาษาแอฟริกานส์ nyanka ใน ภาษาดามารา และ onyanga ในภาษาเฮเรโร เป็นพืชเพียงชนิดเดียวในวงศ์ Welwitschiaceae และอันดับ Welwitschiales ในดิวิชัน Gnetophyta จัดเป็นพืชที่เป็นฟอสซิลที่มีชีวิต Welwitschia mirabilis เป็นพืชท้องถิ่นในทะเลทรายนามิบในแนวที่ใกล้ชายฝั่งทะเล ในประเทศนามิเบียและแองโกลา ลักษณะลำต้นหนา หยั่งลึกลงไปในดิน ลำต้นไม่สูง แต่มีความกว้างเหมือนเป็นจานขนาดใหญ่ ใบแบนยาวสองใบสีเขียวอมน้ำเงิน รูปร่างคล้ายงู รากหยั่งลึกลงในดิน ดูดซับน้ำฝนได้ดี
ที่มา owlcation