Type Here to Get Search Results !

10 สุดยอด ปลาอันตรายในโลก

10 ปลาเวลส์

welscatfish

  ปลาเวลส์เป็นปลาที่หากินเพียงลำตัวตัวเดียว กินอาหารโดยไม่เลือกแม้กระทั่ง สัตว์ปีก หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือแม้แต่กินพวกเดียวกันเอง จนทำให้มีคำเล่าลือกันในยุคกลางว่ากินกระทั่งมนุษย์ หรือมีการผ่าท้องแล้วเจอเศษซากชิ้นส่วนมนุษย์อยู่ภายใน แต่โดยปกติแล้ว อาหารคือ กุ้ง, ปู และปลา หากินในเวลากลางคืน มีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ โดยตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลไข่จนฟักเป็นตัว

9 ปลากระเบนไฟฟ้า


electric ray

   ปลากระเบนไฟฟ้า เป็นปลากระเบนที่มีรูปร่างกลม จัดอยู่ในอันดับ Torpediniformes และมีอวัยวะคู่หนึ่งที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์รูปหกเหลี่ยมเรียงซ้อนกันเป็นกลุ่ม ตั้งอยู่ทางด้านข้างของตาถัดไปถึงครีบอก ภายในมีสารเป็นเมือกคล้ายวุ้น ทำหน้าที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยความแรงมีตั้งแต่ระดับต่ำเพียง 8 โวลต์ไปจนถึง 220 โวลต์ ขึ้นอยู่กับชนิด กระแสไฟฟ้านี้ใช้เพื่อทำให้เหยื่อสลบหรือฆ่าเหยื่อ

   ปลากระเบนไฟฟ้าทั้งหมดมีรูปร่างแบนกลม ตามีขนาดเล็กมาก (มีอยู่ 4 ชนิดที่ตาบอด) ส่วนหางพัฒนาอย่างสมบูรณ์แข็งแรง และไม่มีเงี่ยงหางแหลมคมเหมือนปลากระเบนในอันดับอื่น มีลำตัวหนาและอ่อนนุ่ม มีครีบหลัง 2 ตอน หรือไม่มีเลย ปลากระเบนไฟฟ้ามักหมกตัวอยู่ใต้พื้นทราย สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้หากเหยียบไปถูกเข้า ซึ่งอาจทำให้เกิดเกิดอาการชาและจมน้ำเสียชีวิตได้

8 ปลาสิงโต


lionfish

   ปลาสิงโตเป็นปลาที่มีต่อมพิษที่ก้านครีบแข็งทุกก้าน รวมถึงมีถุงพิษเล็ก ๆ อยู่เต็มรอบไปหมดโดยจะอยู่ใต้ชั้นผิวหนังโดยอยู่รอบส่วนกลาง ส่วนปลายของก้านหนามหุ้มห่อด้วยเนื้อเยื่อ พิษเป็นสารประกอบโปรตีน เมื่อแทงเข้าไปแล้ว ถุงพิษเล็ก ๆ นั้นจะแตกกลายเป็นของเหลวเข้าไปในเนื้อเยื่อของเหยื่อ ซึ่งผู้ที่โดนแทงจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของปลาในวงศ์นี้ แต่โดยรวมแล้ว ปลาสิงโตจะมีความรุนแรงของพิษน้อยกว่าปลาสกุลอื่นหรือวงศ์อื่น ในอันดับเดียวกัน ผู้ที่โดนต่อมพิษของปลาสิงโตแทงจะมีหลายอาการ ทั้งอัมพาต, อัมพาตชั่วคราว หรือแผลพุพอง

7 ปลาไหลไฟฟ้า


electric eel

   ปลาไหลไฟฟ้ามีความสามารถพิเศษคือ ปล่อยไฟฟ้าได้สูงถึง 600 โวลต์ หรืออาจมากกว่านั้น ในปลาที่โตเต็มที่ ซึ่งเท่ากับสามารถให้ไฟฟ้าในปริมาณที่พอใช้ในบ้านหลังเล็ก ๆ หลังหนึ่งและไม่เกิน 100 โวลต์ในปลาที่ยังเล็กอยู่ โดยกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณลำตัวไปจนถึงปลายหางมีเซลล์พิเศษที่สร้างประจุไฟฟ้าได้ นับเป็นสัตว์ที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้สูงที่สุดในโลก เพื่อป้องกันตัวและใช้นำทางหาอาหาร เพราะปลาไหลไฟฟ้ามักอาศัยอยู่ในน้ำที่ขุ่นมัว จึงไม่สามารถใช้ประสาทตามองเห็นได้ดีนัก ปลาไหลไฟฟ้าจะกินเนื้อจำพวกสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า โดยการช็อตสัตว์เหล่านี้ให้สลบแล้วจึงเขมือบกิน และยังเป็นปลาที่ไม่ต้องหายใจผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป แต่จะใช้การฮุบอากาศบนผิวน้ำเพื่อรับออกซิเจนโดยตรงโดยผ่านเส้นเลือดฝอยจำนวนมากที่อยู่ที่ปาก โดยจะใช้เวลานานประมาณ 5-10 นาทีจึงขึ้นมาฮุบอากาศหนึ่งครั้ง อีกทั้งยังอยู่บนบกได้อีกนานนับชั่วโมงถ้าผิวหนังยังเปียกชื้นอยู่

6 ปลาปิรันยา


piranha-fish

   ปลาปิรันยากินเนื้อเป็นอาหาร มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบในแม่น้ำอเมซอน และแม่น้ำหลายสายในทวีปอเมริกาใต้ มีฟันที่แหลมคมรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ มีส่วนหัวขนาดใหญ่ มีกล้ามเนื้อบริเวณกระพุ้งแก้มแข็งแรง ใช้สำหรับกัดกินเนื้อของสัตว์ที่ตกลงไปอยู่ใกล้ที่อยู่เป็นอาหาร โดยเฉพาะสัตว์ที่ตื่นตระหนกตกใจ หรืออยู่ในภาวะอ่อนแอบาดเจ็บ เสียงตูมตามของน้ำที่กระเพื่อม จะดึงดูดปลาปิรันยาเข้ามาอย่างว่องไว ซึ่งปลาปิรันยาจะใช้ฟันที่แหลมคมกัดกินเนื้อของสัตว์ใหญ่จนทะลุไปถึงกระดูกสันหลังได้เพียงไม่กี่นาที ความดุร้ายของปลาปิรันยาแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด แต่เชื่อว่าปลาปิรันยาทุกชนิดสามารถตรวจจับกลิ่นเลือดในน้ำแม้เพียง 50 แกลลอน เหมือนกับปลาฉลาม

5 ปลาฉลามหัวบาตร

bull shark

   ปัจจุบัน มีการจัดอันดับให้ปลาฉลามหัวบาตรเป็นปลาฉลามที่มีอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุด เนื่องด้วยการที่พบกระจายอยู่ทั่วโลกและสามารถเข้ามาอาศัยได้ในน้ำจืดได้ในเหตุการณ์ปลาฉลามโจมตีที่ชายฝั่งเจอร์ซีย์ ค.ศ. 1916 เป็นการจู่โจมมนุษย์โดยปลาฉลามหัวบาตรที่ขึ้นชื่ออย่างมาก และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ ปีเตอร์ เบนชลีย์ นักเขียนชาวอเมริกัน แต่งเป็นนวยายเรื่อง Jaws ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันที่โด่งดังมากในปี ค.ศ. 1975

4 ปลาฉลามขาว

great white shark

   เรื่องของปลาฉลามขาวจู่โจมมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันมากผ่านทางภาพยนตร์ อย่างเช่นเรื่อง จอร์ (Jaws) ผลงานของสตีเว่น สปิวเบอร์ก (Steven Spielberg) แสดงให้เห็นถึงภาพฉลามที่โหดร้าย กินคน และเป็นอันตรายอย่างยิ่งกับมนุษย์ ให้ฝังในใจของผู้ชม ซึ่งอันที่จริงแล้วมนุษย์ไม่ใช่เหยื่อของฉลามตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีรายงานยืนยันฉลามจู่โจมมนุษย์เพียง 31 รายในรอบ 200 ปี และเป็นส่วนน้อยที่เสียชีวิต กรณีที่เสียชีวิตจะเป็นกรณีที่ฉลามลองกัดดูมากกว่า เพราะอยากรู้อยากเห็น ปลาฉลามขาวยังลองกัดพวกสิ่งของอื่นๆ เช่น ทุ่นลอยน้ำ และของที่มันไม่คุ้นเคยอื่นๆ และบางครั้งก็จะใช้เพียงริมฝีปากกัดโดนนักเล่นเซิร์ฟ เพราะอยากรู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่
   ในกรณีอื่นๆ อาจเกิดขึ้นมาจากความเข้าใจผิด ที่จู่โจมนักเล่นเซิร์ฟจากด้านล่างเพราะเห็นเพียงเงา ดูแล้วคล้ายกับแมวน้ำ หลายกรณีเกิดขึ้นในช่วงที่ทัศนะวิสัย ไม่เอื่ออำนวยกับการมองเห็น และในกรณีที่ประสาทสัมผัสด้านอื่นมีประสิทธิภาพลดลง หรืออาจเป็นเพราะว่า สายพันธุ์ของปลาฉลามขาวไม่ค่อยถูกปากกับรสชาติของมนุษย์ หรือรสชาติไม่ค่อยคุ้นเคย

3 ปลาหิน

stonefish

   ปลาหินมีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวป้อมเกือบกลม หัวขนาดใหญ่ส่วนหัวมีหนามจำนวนมาก สีลำตัวคล้ำมีลายเลอะ ทำให้แลดูคล้ายก้อนหิน ลำตัวสากและมีหนามเล็ก ๆ หนังหนาและเป็นปุ่ม เกล็ดละเอียด บางชนิดไม่มีเกล็ด ครีบหลังยาว ครีบอกกว้าง มีก้านครีบแข็งขนาดใหญ่ที่ครีบหลัง ครีบอก และครีบท้อง ก้านครีบแข็งมีลักษณะเป็นหนาม ซึ่งก้านครีบนี้มีพิษร้ายแรงมาก โดยต่อมพิษของก้านครีบแข็งอยู่ใต้ชั้นผิวโดยอยู่รอบส่วนกลาง ส่วนปลายของก้านหนามหุ้มห่อด้วยเนื้อเยื่อ พิษจะถูกปล่อยออกเมื่อเยื่อหุ้มหนามฉีกขาด อันตรายเกิดจากการไปสัมผัสถูกก้านครีบแข็งบริเวณต่าง ๆ และหนามบริเวณหัว เนื่องจากปลาหินชอบอยู่นิ่ง ๆ ทำให้ดูคล้ายก้อนหิน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ หากไปสัมผัสหรือเหยียบได้ พิษมีความรุนแรงมากเมื่อถูกตำหรือบาดจะปวดและบวมทันที ความเจ็บปวดอาจอยู่นานหลายชั่วโมงหรือหลายวัน ในกรณีที่รับพิษจำนวนมากหรือแพ้ ผู้ได้รับพิษอาจมีอาการคอแห้ง ปวดเมื่อยตามข้อต่าง ๆ ซึม เพ้อ ไม่ได้สติ จนกระทั่งเสียชีวิตได้ในที่สุด โดยปลาหินถือว่าเป็นปลาจำพวกหนึ่งที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก


2 วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่

pufferfish

   เป็นปลาที่มีพิษร้ายแรง เมื่อกินเข้าไปอาจถึงตายได้ โดยจากการศึกษาปลาปักเป้าในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทย พบเป็นปลาปลาปักเป้าน้ำจืดที่มีการสะสมพิษในตัวจะมีอยู่จำนวน 8 ชนิด มากกว่าปลาปักเป้าน้ำกร่อยมีพิษ ซึ่งมีอยู่แค่ 4 ชนิด และลักษณะพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดจะมีการสะสมพิษในอวัยวะทุกส่วน และพิษจะมีมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูวางไข่ ราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยพิษเกิดเนื่องจากแพลงก์ตอน หรือแบคทีเรียที่ทำให้เกิดพิษหลังจากปลาปักเป้ากินเข้าไป เมื่อมีผู้จับไปกินก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

1 คูโบซัว

box jellyfish

   คูโบซัว (ชั้น: Cubozoa; อังกฤษ: Box jellyfish, Sea wasp) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นหนึ่งของไฟลัมไนดาเรีย มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษเรียกโดยรวมว่า "แมงกะพรุนกล่อง" (Box jellyfish) หรือ "แมงกะพรุนสาหร่าย" หรือ "สาโหร่ง" (Sea wasp) เพราะมีพิษที่ร้ายแรงและมีรูปร่างคล้ายลูกบาศก์อันเป็นที่มาของชื่อ
   คูโบซัว จัดเป็นแมงกะพรุนที่แบ่งออกได้เป็น 2 อันดับใหญ่ ๆ โดยดูที่ลักษณะของหนวดที่มีพิษเป็นสำคัญ ได้แก่ พวกที่มีหนวดพิษเส้นเดี่ยวที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม เช่น แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) กับพวกที่มีหนวดเป็นกลุ่มที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม มุมละ 15 เส้น ซึ่งจะเป็นหนวดที่ยาวมาก อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ได้แก่ Chironex fleckeri มีเข็มพิษประมาณ 5,000,0000,000 เล่มที่หนวดแต่ละเส้น ซึ่งมีพิษร้ายแรงซึมเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่ถูกต่อยได้ โดยมากจะพบตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น ออสเตรเลียทางตอนเหนือ, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะฟิลิปปิน, หมู่เกาะฮาวาย ช่วงที่พบได้มากคือ เดือนตุลาคม-เมษายน และหลังช่วงพายุฝนที่จะถูกน้ำทะเลพัดพาเข้ามาจนใกล้ฝั่ง





ที่มา themysteriousworld



แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น
* Please Don't Spam Here. All the Comments are Reviewed by Admin.

Top Post Ad