10. ทะเลทราย โซนอรัน Sonoran Desert
ทะเลทรายโซนอรัน หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทะเลทรายแอริโซนา (Sonoran Desert, Arizona Desert) เป็นทะเลทรายในอเมริกาเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างขายแดนของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ในรัฐแอริโซนาและรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโกอย่าง รัฐโซโนรา รัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย และรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียซูร์ ถือเป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดและร้อนที่สุดในอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ 311,000 ตร.กม. ทะเลทรายมีพืชและสัตว์หลากหลายชนิด โดยมี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า 60 ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 20 ชนิดสัตว์เลื้อยคลาน 100 ชนิด ปลา 20 ชนิด นก 350 ชนิด และมีพันธุ์พืชอยู่ที่นี่จำนวนกว่า 2,000 ชนิด
ทะเลทรายโซโนรานเป็นทะเลทรายที่ร้อนที่สุดและใหญ่เป็นอันดับสองในทวีปอเมริกาเหนือในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิในทะเลทรายโซโนร์นมีอุณหภูมิถึง 40 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิในบางส่วนของทะเลทรายนี้ยังเพิ่มขึ้นมากกว่า 48 องศาเซลเซียส
9. ทะเลทรายซิมป์สัน Simpson Desert
ทะเลทรายซิมป์สัน ตั้งอยู่บริเวณใจกลางประเทศออสเตรเลีย มีเนื้อที่ 77,000 ตารางกิโลเมตร ทะเลทรายแห่งนี้ มีเนินทรายมากกว่า 1,100 แห่ง ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจในทะเลทรายแห่งนี้ อีกทั้งยังมีสีสันที่สวยงาม ตั้งแต่ สีแดง , ชมพูและสีขาว ใน ทะเลทรายซิมป์สัน มีพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง และมีปริมาณฝนเพียง 150 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิฤดูร้อนเฉลี่ยอยู่ที่ 39 องศาเซลเซียส แต่อาจสูงถึง 50 องศาเซลเซียส ได้ในบางวัน
8. ทะเลทรายอาหรับ Arabian Desert
ทะเลทรายอาหรับ เป็นทะเลทรายที่อยู่ในคาบสมุทรอาหรับ อยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบียและมีขอบเขตถึงประเทศจอร์แดน อิรัก คูเวต กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน และเยเมน มีพื้นที่ประมาณ 2,330,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตรงกลางมีทะเลทรายรุบัลคอลี สภาพภูมิอากาศของทะเลทรายอาหรับ มีอากาศร้อนและหนาวจัด ในฤดูร้อนอุณหภูมิจะสูงถึง 55 องศาเซลเซียส
7. ทะเลทรายเนเกฟ Negev Desert
ทะเลทรายเนเกฟตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอิสราเอล มีเนื้อที่เพียง 12,000 ตารางกิโลเมตร ทางด้านตะวันตกติดคาบสมุทรซีนาย ด้านตะวันออกติดกับแอ่งทรุด ทะเลทรายมีเนื้อที่เหมือนรูปสามเหลี่ยมกลับหัว
6. ทะเลทรายโมฮาวี Mojave Desert
ทะเลทรายโมฮาวี เป็นทะเลทรายที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา ทางใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนียด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครลอสแอนเจลิส มีเนื้อที่ประมาณ 39,000 ตารางกิโลเมตร ทะเลทรายโมฮาวีมีภูเขาล้อมรอบโดยทิศเหนือและทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาเซียร์ราเนวาดา ทิศตะวันออกเฉียงใต้เชื่อมต่อกับทะเลทรายโคโลราโด พื้นทะเลทรายเป็นหินชั้นอุดมได้ด้วยแร่ธาตุต่างๆ มีฝนตกเพียงปีละ 115 มิลลิเมตร สิ่งที่น่าสนใจในทะเลทรายแห่งนี้ คือ เนินทายที่สูงกว่า 600 ฟุต ที่เกิดจากการพัดผ่านของลมตะวันออกเฉียงใต้
5. ทะเลทรายอาตากามา Atacama Desert
ทะเลทรายอาตากามา ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเปรูไปถึงตอนเหนือของประเทศชิลี เป็นระยะทางกว่า 960 กิโลเมตร กินพื้นที่ประมาณ 180,000 ตารางกิโลเมตร โดยสูงเฉลี่ย 610 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทะเลทรายแห่งนี้ได้ขึ้นชื่อว่าแห้งแล้งที่สุดของโลก ประกอบไปด้วยแอ่งดินเค็มแห้งแล้งหลายแอ่งติดต่อกัน แม้ว่าเกือบจะไม่มีพืชขึ้นเลย แต่ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยไนเตรต ทองแดง ไอโอดีน และบอแรกซ์ เมืองในทะเลทรายอย่างเช่นเมืองกาลามาประสบภาวะแล้งจัดยาวนานกว่า 400 ปี ซึ่งเพิ่งสิ้นสุดเมื่อปี ค.ศ. 1971
4. ทะเลทรายสะฮารา Sahara Desert
ทะเลทรายสะฮาราครอบคลุมส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย, ชาด, อียิปต์, ลิเบีย, มาลี, มอริเตเนีย, โมร็อกโก, ไนเจอร์, เวสเทิร์นสะฮารา, ซูดานและตูนิเซีย มีสภาพภูมิอากาศ ทะเลทรายสะฮารา แม้จะได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ ๆ ร้อนและแห้งแล้งที่สุดในโลก แต่ทว่าทะเลทรายแห่งนี้ก็ยังมีปรากฏการณ์หิมะตก ในวันที่18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 ที่เมืองอินเซฟรา ในแอลจีเรีย ทะเลทรายสะฮารา มีความกว้างขวางถึง 9,000,000 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียทั้งทวีป มีขนาดพื้นที่พอ ๆ กับสหรัฐอเมริกา และเป็นเนื้อที่ 1 ใน 3 ของทวีปแอฟริกาทั้งหมด แต่นับเป็นทะเลทรายที่ถือกำเนิดได้ราว 2,000 ปีเท่านั้น โดยเกิดจากความแห้งแล้งลงของภูมิภาคแอฟริกาเหนือ ซึ่งในอดีตเมื่อกว่า 4,000 ปีก่อน ณ ที่แห่งนี้ยังเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์คล้ายโอเอซิส มีแม่น้ำ และสัตว์ป่าขนาดใหญ่มากมายอาศัยอยู่ โดยปรากฏเป็นหลักฐานทางโบราณคดี คือ ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำของมนุษย์ในยุคนั้น สภาพภูมิอากาศของทะเลทรายสะฮารา แม้จะได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ ๆ ร้อนและแห้งแล้งที่สุดในโลก แต่ทว่าทะเลทรายแห่งนี้ก็ยังมีปรากฏการณ์หิมะตก ในวันที่18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 ที่เมืองอินเซฟรา ในแอลจีเรีย
3. ทะเลทรายโกบี Gobi Desert
ทะเลทรายโกบี ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศมองโกเลียตอนใต้กับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ทางตอนเหนือของประเทศจีน โกบีเป็นทะเลทรายที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ทอดตัวเป็นแนวโค้งยาว 1,600 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่พอ ๆ กับรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกา ทะเลทรายแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ราบสูงเหนือระดับน้ำทะเล 900-1,500 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินล้วนทางด้านตะวันออก ส่วนด้านตะวันตกเป็นทราย
2. ทะเลทรายนามิบ Namib Desert
ทะเลทรายนามิบ ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งประเทศนามิเบีย ทอดตัวยาวตั้งแต่ประเทศแองโกลาทางทิศเหนือทาบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในประเทศนามิเบีย ไปสุดที่แม่น้ำออเรนจ์ตรงพรมแดนระหว่างประเทศนามิเบียกับประเทศแอฟริกาใต้ มีความยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร มีช่วงความกว้างตั้งแต่ 10-160 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร เป็นหนึ่งในทะเลทรายที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของโลก โดยคาดว่ามีอายุอย่างน้อย 55 ล้านปี สภาพโดยทั่วไปเวิ้งว้างและเต็มไปด้วยหมอก ทะเลทรายนามิบถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยแม่น้ำควีเซบซึ่งไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่อ่าววอลวิส
1. ทวีปแอนตาร์กติกา Antarctica
แอนตาร์กติกา เป็นทวีปที่อยู่รอบขั้วโลกใต้ของโลกล้อมรอบด้วยมหาสมุทร มีตำแหน่งอยู่ตรงข้ามกับเขตอาร์กติก ที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ ตัวทวีปถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยเทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติก (transantarctic mountains) ถือว่าเป็นดินแดนที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดในโลก โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็ง โดยได้ชื่อว่าเป็น "ทวีปสีขาว" (White Continen) และยังนับเป็นดินแดนร้างแล้ง (desert) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยไม่มีมนุษย์ตั้งรกรากอยู่อาศัยถาวร (แต่มีสถานีวิจัยกระจายอยู่ทั่วทวีป) สิ่งมีชีวิตพื้นถิ่นได้แก่ เพนกวิน แมวน้ำ และสาหร่าย แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ ("Terra Australis")ตั้งแต่ยุคโบราณ แต่ส่วนใหญ่ยอมรับกันว่ามีการพบเห็นทวีปแอนตาร์กติกาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1820 และลงเหยียบพื้นน้ำแข็งครั้งแรกในปีต่อมา อย่างไรก็ตาม แผนที่ของพลเรือเอกปีรี ไรส์ ที่เขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1513 ได้บรรจุดินแดนนี้ไว้ โดยมีรูปร่างคล้ายคลึงกับชายฝั่งแอนตาร์กติกา