Type Here to Get Search Results !

10 สุดยอด เครื่องบินรบขั้นสูง

10 ยาส 39 กริพเพน – ประเทศสวีเดน 

Saab JAS 39 Gripen (Sweden)

   ยาส 39 กริพเพน JAS 39 Gripen เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่ผลิตโดยบริษัทซ้าบของประเทศสวีเดน โดยมีกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล (Gripen International) ทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการทำสัญญาซึ่งจะรับผิดชอบต่อการตลาด การขาย และการสนับสนุนเครื่องบินขับไล่กริพเพนทั่วโลก ปัจจุบันมันอยู่ในประจำการของกองทัพอากาศสวีเดน กองทัพอากาศเช็ก กองทัพอากาศฮังการี และกองทัพอากาศแอฟริกาใต้ 

9 เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน – สหรัฐอเมริกา

YF-16 and YF-17 in flight

  เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน F-16 Fighting Falcon เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่เดิมที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทGeneral Dynamicsเพื่อกองทัพอากาศสหรัฐ มันถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่ตอนกลางวันน้ำหนักเบา มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จ ความสามารถรอบตัวของมันเป็นเหตุผลหนักที่มันทำการตลาดได้เยี่ยมโดยมันถูกเลือกโดยกองทัพอากาศของ 25 ประเทศ เอฟ-16 เป็นโครงการเครื่องบินขับไล่พลังไอพ่นที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งตะวันตกพร้อมด้วยการผลิตกว่า 4,400 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 ถึงแม้ว่ามันจะไม่ถูกซื้อโดยกองทัพอากาศสหรัฐอีกต่อไป รุ่นที่ก้าวหน้าก็ยังคงทำตลาดในหมู่ต่างประเทศได้ ในปีพ.ศ. 2536 เจเนรัล ไดนามิกส์ขายธุรกิจการผลิตเครื่องบินให้กับบริษัทล็อกฮีด ซึ่งได้กลายมาเป็นล็อกฮีด มาร์ตินหลังจากทำการรวมเข้ากับมาร์ติน มาเรียทต้าในปีพ.ศ. 2538

8 มิโคยัน มิก-31 – รัสเซีย

Mikoyan MiG-31 (Russia)

   มิโคยัน มิก-31 (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่า ฟ็อกซ์ฮาวนด์) เป็นเครื่องบินสกัดกั้นความเร็วเหนือเสียง สัญชาติรัสเซีย พัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทน มิก-25 ฟ็อกซ์แบท โดยใช้แผนแบบของ มิก-25 โดยบริษัทมิโคยัน

7 เอฟ-15 อีเกิล – สหรัฐอเมริกา

Advanced Jet Fighters

   เอฟ-15 อีเกิล F-15 Eagle เป็นเครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ทางยุทธวิธีทุกสภาพอากาศที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ครองความได้เปรียบทางอากาศ มันถูกพัฒนาให้กับกองทัพอากาศสหรัฐและได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2515 มันเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่โดดเด่นที่สุดในสมัยใหม่ เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิลเป็นแบบดัดแปลงสำหรับทำหน้าที่โจมตีทุกสภาพอากาศซึ่งได้เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2532 กองทัพอากาศสหรัฐฯ วางแผนที่จะใช้เอฟ-15 ไปจนถึงปีพ.ศ. 2568

6 ซุคฮอย ซู-34 – รัสเซีย

Sukhoi Su-35 (Russia)

   ซุคฮอย ซู-34 เป็นเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดแบบสองที่นั่งของรัสเซีย มันถูกใช้เพื่อเข้ามาแทนที่ซุคฮอย ซู-24 Su-34 ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานด้านยุทธวิธีอากาศสู่พื้นดินและเป้าหมายทางเรือ รวมถึงเป้าหมายขนาดเล็ก สามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งในเวลากลางวันและเวลากลางคืน บินได้ทุกสภาพอากาศ

5 ดัซโซลท์ ราฟาล – ฝรั่งเศส

Dassault Rafale France

   ดัซโซลท์ ราฟาล Dassualt Rafale เป็นเครื่องบินรบแบบสองเครื่องยนต์เจ็ต สัญชาติ ฝรั่งเศส ทำการรบได้หลายแบบ ทั้งภารกิจ ระยะสั้น และ ระยะไกล Rafale เป็นเครื่องบินรบ ปฏิบัติภารกิจ แบบผสม (multi-role) ทำการตรวจจับลำบาก มีความสามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวัน และกลางคืน ทุกสภาพอากาศ มันสามารถขึ้น-ลงจอดบนเรือบรรทุกอากาศยานได้

4 ยูโรไฟต์เตอร์ ไทฟูน – สหภาพยุโรป

Eurofighter Typhoon

   ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1983 กองทัพอากาศ ฝรั่งเศส ,เยอรมันตะวันตก ในขณะนั้น(ก่อนรวมประเทศกับเยอรมันตะวันออก) , อิตาลี, สเปน, และอังกฤษ ได้ประกาศโครงการ ร่วมกัน ที่จะพัฒนาเครื่องบินรบ สำหรับศตวรรษหน้า และให้ชื่อว่า FEFA ( เครื่องบินรบ ในอนาคต ของยุโรป). FEFA ตอนแรกคาดว่าจะเข้าประจำการทั้ง 5 ประเทศ กลางปี 1990 แต่ ตั้งแต่เริ่มโครงการก็เกิดปัญหา และอุปสรรค จากการเมือง ,ธุรกิจ ,ด้านเทคนิค และการทหารการไม่เห็นด้วย กับขนาด และกำหนดการผลิต ทำให้ฝรั่งเศส ถอนตัวออกจากโครงการ ในเดือน ก.ค. 1985 ( ฝรั่งเศสต้องการเลื่อนการผลิตออกไปเพราะว่า กำหนดการไปแข่งกับเครื่อง มิราจ 2000 ซึ่งฝรั่งเศสเป็นผู้สร้าง) ในเดือน มิ.ย. ค.ศ. 1986 บริษัทยูโรไฟท์เตอร์ ได้จัดตั้งขึ้น ปัจจุบันคือ EFA (Europian Fighter Aircraft ) ประกอบด้วยบริษัท British Aerospace จากอังกฤษ (33%) , บริษัท MBB จากเยอรมัน (ปัจจุบัน DASA 33%) , Aeritalia จากอิตาลี (ปัจจุบัน Alenia 21%) , และ CASA จากสเปน (13%)

3 เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท – สหรัฐอเมริกา

FA 18F Super Hornet landing

   เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีชนิดที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน เอฟ/เอ-18อีนั้นเป็นแบบที่นั่งเดียวและเอฟ/เอ-18เอฟนั้นเป็นแบบสองที่นั่งที่มีขนาดใหญ่และก้าวหน้ากว่าเอฟ/เอ-18ซี/ดี ฮอร์เน็ท ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีปืนขนาด 20 ม.ม.และสามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นได้หลากหลาย ถังเชื้อเพลิงสำรองสามารถติดตั้งเข้าไปได้ถึงห้าถังและเครื่องบินยังสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศได้ด้วยการเติมระบบเติมเชื้อเพลิงเข้าไป ด้วยการที่ถูกออกแบบและผลิตโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสซูเปอร์ฮอร์เน็ทได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2538 การผลิตเต็มอัตราเริ่มขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 หลังจากที่แมคดอนเนลล์ ดักลาสรวมเข้ากับโบอิงหนึ่งเดือนก่อนหน้า ซูเปอร์ฮอร์เน็ทได้เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2542 เพื่อเข้าแทนที่เอฟ-14 ทอมแคทตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 และทำงานร่วมกับฮอร์เน็ทแบบดั้งเดิม ในปีพ.ศ. 2550 กองทัพอากาศออสเตรเลียได้สั่งซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ทเพื่อเข้าแทนที่กองบินเอฟ-11

2 เอฟ-22 แร็พเตอร์ – สหรัฐอเมริกา

Advanced Jet Fighters

   เอฟ-22 แร็ปเตอร์ F-22 Raptor เครื่องบินเอฟ-22 เป็นเครื่องบินเจ๊ตขับไล่ที่มีแผนจะนำมาใช้ปฏิบัติการครองอากาศทดแทนเครื่องบินเอฟ-15 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดความต้องการเครื่องบินขับไล่ยุทธวิธีขั้นก้าวหน้า (Advanced Tactical Fighter) ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ 2529 จึงได้คัดเลือกเครื่องบินต้นแบบจากสองกลุ่มบริษัทได้แก่ กลุ่มเจนเนอรัล ไดนามิกส์/ล็อกฮีด/โบอิง (เจเนอรัล ไดนามิกส์ ควบรวมกับล็อกฮีดในภายหลัง) ที่สร้างเครื่องต้นแบบวายเอฟ-22 กับกลุ่มแมคดอนเนลล์ ดักลาส/นอร์ทธอป ที่สร้างเครื่องต้นแบบวายเอฟ-23 เพื่อดำเนินการสาธิตและรับรองเครื่องต้นแบบ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2534 กองทัพอากาศสหรัฐฯตัดสินใจเลือกเครื่องต้นแบบวายเอฟ-22 ในการดำเนินการ

1 ล็อกฮีด มาร์ติน เอฟ-35 ไลท์นิง 2 – สหรัฐอเมริกา

Advanced Jet Fighters

   เอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 (อังกฤษ: F-35 Lightning II) เป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 5 หนึ่งที่นั่ง หนึ่งเครื่องยนต์ โดยเป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทแบบล่องหน ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด การทิ้งระเบิดทางยุทธวิธี และการป้องกันทางอากาศ[6] เอฟ-35 มีทั้งหมด 3 รุ่น คือ แบบขึ้น-ลงปกติ แบบขึ้น-ลงแนวในดิ่ง และแบบที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน เอฟ-35 เป็นผู้สืบทอดจากเอ็กซ์-35 เป็นผลิตผลจากโครงการเครื่องบินขับไล่โจมตีร่วมหรือเจเอสเอฟ (Joint Strike Fighter, JSF) การพัฒนาของมันนั้นได้รับทุนหลักจากสหรัฐอเมริกา โดยมีสหราชอาณาจักรและประเทศอื่นๆ ให้ทุนเพิ่มเติม มันถูกออกแบบและสร้างโดยทีมอุตสาหกรรมการบินที่นำโดยล็อกฮีด มาร์ติน โดยมีนอร์ทธรอป กรัมแมนและบีเออี ซิสเต็มส์เป็นหุ้นส่วนหลักเครื่องบินสาธิตบินในปีพ.ศ. 2543 มันทำการบินครั้งแรกในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549




ที่มา wonderslist

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น
* Please Don't Spam Here. All the Comments are Reviewed by Admin.

Top Post Ad