สงครามอิรัก เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศอิรักตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2546 ด้วยการรุกรานอิรักโดยสหรัฐอเมริกาซึ่งมีประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชเป็นผู้นำ และสหราชอาณาจักรซึ่งมีนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์เป็นผู้นำ สงครามคราวนี้อาจเรียกชื่ออื่นว่า การยึดครองอิรัก, สงครามอ่าวครั้งที่สอง หรือ ปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก โดยทหารสหรัฐ สงครามครั้งนี้สหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 แม้ความรุนแรงประปรายยังมีต่อไปทั่วประเทศ
2 ปากีสถาน
ด้วยการให้ทุนแก่อัล-กออิดะฮ์ในช่วงปี 1980s เพื่อเป็นช่องทางในการตัดอิทธิพลของรัสเซียที่กำลังเพิ่มขึ้นในเอเชีย อเมริกาได้ช่วยสร้างลัทธิอิสลามสุดโต่งขึ้นมาในปากีสถานและอัฟกานิสถาน เป็นการทำลายความปรารถนาจะเป็นใหญ่ของอิหร่านในขณะที่เหวี่ยงปากีสถานออกจากดุลยภาพทางการเมืองไปด้วย
3 อัฟกานิสถาน
สงครามอัฟกานิสถาน เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เมื่อกองทัพสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลียเครือจักรภพ และพันธมิตรฝ่ายเหนือเริ่มปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน (Operation Enduring Freedom) แรงขับสำคัญของการรุกรานมาจากวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ต่อสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายแถลงไว้ว่า เพื่อทำลายองค์การก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์และยุติการใช้อัฟกานิสถานเป็นฐานปฏิบัติการ สหรัฐอเมริกายังแถลงว่า จะโค่นระบอบฏอลิบานลงจากอำนาจ และสร้างรัฐประชาธิปไตยซึ่งอยู่รอดได้ อีกหนึ่งทศวรรษให้หลัง สหรัฐอเมริกายังสู้รบกับการก่อความไม่สงบที่ขยายวงกว้างของฏอลิบาน และสงครามได้ขยายเข้าไปในพื้นที่ชนเผ่าของประเทศปากีสถานเพื่อนบ้าน
4 อินเดีย
กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯเคยระบุเมื่อปี 2011 ว่า กลุ่ม อินเดียน มูจาฮิดีน มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับประเทศปากีสถาน และอยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดหลายสิบครั้งในอินเดีย ตั้งแต่ปี 2005 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน โดยกลุ่มนี้มี"เป้าหมายคือก่อการร้ายต่อผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม" เพื่อสร้างดินแดนอิสลามทั่วเอเชียใต้
5 เยเมน
ความขัดแย้งในเยเมนไม่ใช่แค่การประลองอำนาจระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอิหร่านหรือ นิกายสุหนี่กับชีอะห์เท่านั้นยังมีตัวแปรสำคัญคือกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ที่ใช้เยเมนเป็นฐานในการวางแผนโจมตีชาติตะวันตกโดยอาศัยความอ่อนแอของรัฐบาลเยเมนที่ผ่านมานอกจากนั้นยังมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มไอสิสที่มีอิทธิพลมากขึ้นทุก ถ้าเยเมนกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลวลงเมื่อไรที่นี่ก็จะกลายเป็นสวรรค์ของการก่อการร้ายในทันที
6 โซมาเลีย
อัล ชาบับ เป็นกลุ่มก่อการร้ายสุดโต่ง ถือกำเนิดจากภาวะไร้ขื่อแปในโซมาเลีย หลังการโค่นผู้นำเผด็จการในปี 2534 ชื่อภาษาอาหรับแปลว่า "เยาวชน" มีเป้าหมายตั้งรัฐบาลอิสลามเคร่งจารีตในประเทศแอฟริกาตะวันออกแห่งนี้ ประเมินกันว่า อัล ชาบับ มีนักรบในกลุ่มหลายพันคน รวมถึงนักรบต่างชาติหลักร้อย บางส่วนมาจากตะวันออกกลางที่ผ่านสมรภูมิอิรักและอัฟกานิสถาน อีกส่วนเป็นคนหนุ่มจากชุมชนชาวโซมาเลียในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
7 ไนจีเรีย
โบโกฮะรัม Boko Haram หมายถึง "การศึกษาตะวันตกถูกห้าม" เป็นขบวนการอิสลามก่อการร้ายมีฐานในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไนจีเรีย นอกจากนี้ยังปฏิบัติการในประเทศชาด ไนเจอร์และทางเหนือของแคเมอรูน ผู้นำคือ อะบูบะการ์ เชเกา (Abubakar Shekau) มีสมาชิกประเมินอยู่ระหว่างไม่กี่ร้อยคนถึง 10,000 คน มีความเชื่อมโยงกับอัลกออิดะฮ์และไอเอส
โบโกฮะรัมฆ่าพลเรือนกว่า 5,000 คนระหว่างเดือนกรกฎาคม 2552 ถึงเดือนมิถุนายน 2557 รวมอย่างน้อย 2,000 คนในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 ในการโจมตีซึ่งส่วนใหญ่เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ-กลางและกลางของไนจีเรีย การฉ้อราษฎร์บังหลวงในราชการความมั่นคงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ราชการก่อบั่นทอนความพยายามรับมือกับความไม่สงบดังกล่าว นับแต่ปี 2552 โบโกฮะรัมลักพาตัวชาย หญิงและเด็กกว่า 500 คน รวมการลักพาตัวเด็กนักเรียนหญิง 278 คนจากชิบอค (Chibok) ในเดือนเมษายน 2557 ประชาชน 650,000 คนหนีจากพื้นที่ขัดแย้งจนถึงเดือนสิงหาคม 2557 เพิ่มขึ้น 200,000 คนนับจากเดือนพฤษภาคมปีนั้น เมื่อสิ้นปี มีประชาชนหนีแล้ว 1.5 ล้านคน
8 ไทย
กลุ่มก่อการร้ายติดอาวุธในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้มีเพียงกลุ่มเดียว อาจมีกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ (รวมทั้งกลุ่มอาชญากรรมต่างๆ) ที่เป็นอิสระไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่ม BRN ซึ่งอาจไม่เห็นด้วยกับการพูดคุยสันติภาพของกลุ่ม BRN ถ้ามองในแง่ลบ เป็นไปได้ว่าฝ่ายกองกำลังติดอาวุธจะปฏิบัติการก่อการร้ายเพิ่มมากขึ้นต่อไปเพื่อกดดันรัฐบาลและหน่วยงานความมั่นคงของไทยให้ยินยอมตามความต้องการของฝ่ายการเมืองของกลุ่ม BRN ซึ่งได้เสนอผ่าน Youtube ให้คนไทยได้รับทราบกันไปไม่นานมานี้
กลุ่มก่อการร้ายได้เพิ่มการปฏิบัติการรุนแรงและโหดเหี้ยมมากขึ้นโดยไม่เลือกเป้าหมาย และมุ่งขจัดหรือสร้างความหวาดกลัวต่อประชาชนที่ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและไม่ให้การสนับสนุนต่อกลุ่มก่อการร้าย เพื่อลดจำนวนประชาชนที่ต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายโดยไม่เลือกว่านับถือศาสนาใด (คงมุ่งหวังหรือต้องการให้อพยพออกไปจากพื้นที่) และในทางตรงกันข้ามก็จะเป็นการเพิ่มสัดส่วนของประชาชนที่ให้การสนับสนุนต่อกลุ่มก่อการร้ายในพื้นที่ โดยมุ่งหวังว่า ถ้ารัฐบาลไทยโอนอ่อนยินยอมให้มีการปกครองตนเองในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือเป็นเขตปกครองพิเศษที่มีการเลือกผู้บริหารโดยตรงจากประชาชนในพื้นที่ กลุ่มก่อการร้ายกลุ่มต่างๆ (BRN และกลุ่มก่อการร้ายติดอาวุธต่างๆ) ก็เชื่อมั่นว่า จะมีกลุ่มประชาชนที่ให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมากเพียงพอที่จะทำให้ตัวแทนของกลุ่มก่อการร้าย (BRN และกลุ่มก่อการร้ายติดอาวุธต่างๆ) ได้รับเลือกเข้ามาเป็นผู้บริหารเขตปกครองพิเศษในอนาคต
9 รัสเซีย
รัสเซียคือหนึ่งในผู้ถูกโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่น่ากลัวที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อเด็กในโรงเรียนถูกโจมตี ในปี 2004 โดยผู้ก่อการร้ายได้ยึดโรงเรียนเป็นเวลา 3 วัน ทำให้เด็ก 186 คน พร้อมกับผู้ใหญ่ 154 คนถูกฆ่าตาย
10 ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์มีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างรัฐบาลและกลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลฟิลิปปินส์ ที่สนับสนุนพลเมืองของตน ตั้งแต่ปี 2000 กลุ่มอิสลามหัวรุนแรงได้นำออกมาวางระเบิดโจมตีต่อพลเรือนมากกว่า 40 ครั้ง ตั่งแต่ปี 2000-2007 มีผู้เสียชีวิตเกือบ 400 คนที่เป็นพลเรือนของฟิลิปปินส์และได้รับบาดเจ็บกว่า 1500 คน
ที่มา countrydetail