ยี่โถ มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น แถบโปรตุเกสไปจนถึง อินเดีย อิหร่าน โดยสันนิษฐานว่ามีการแพร่เข้ามาในไทยโดยชาวจีน ในปี พ.ศ. 2352-2364 เป็นพืชในวงศ์ Apocynaceae เป็นพืชมีพิษ ยางเมื่อถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง เป็นแผลพุพอง ถ้ารับประทานเมล็ดทำให้เวียนศีรษะ ง่วงนอน ถ่ายเป็นเลือด เป็นพิษต่อหัวใจ ทำให้ชัก
9 แอ็ปเปิ้ลยาพิษ หรือ แมนชินิวล์
เป็นพืชพื้นเมืองของฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา บาฮามา แคริบเบียน อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ทุกส่วนของต้นแอ็ปเปิ้ลยาพิษ หรือ แมนชินิวล์ มีสารพิษที่เป็นอันตราย ยางสีขาวมีสารที่ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง และทำให้เกิดการอาการแพ้อย่างรุนแรง ผลแอ็ปเปิ้ลยาพิษหนึ่งผลสามารถทำให้เสียชีวิตได้มีคำบอกเล่าว่าแม้แต่ควันที่เกิดจากการเผาต้นแอ็ปเปิ้ลยาพิษก็สามารถทำให้ตาบอดได้
8 วอเตอร์ เฮ็มลอค
สารที่เป็นพิษมีอยู่ในทุกส่วนของต้น พืชพวกนี้มักมีผลหรือเมล็ดที่ดึงดูดความสนใจของเด็กซึ่งเป็นชนวนของการเกิดพิษ มักมีสารที่ทำให้เกิดพิษในปริมาณน้อย การที่จะเกิดเป็นพิษต้องกินในปริมาณสูง และอาการที่พบชัดเจนคือการชักกระตุก
7 แตรนางฟ้า (Angel’s trumpet)หรือลำโพง
การเป็นพิษ อาการแสดงที่เกิดจากพิษของลำโพงปรกติจะมีอาการภายในเวลา 30 นาที ถึง 60 นาที หลังจากกินเมล็ดลำโพง หรือส่วนต่าง ๆ ของลำโพง และอาการจะดำเนินต่อไปอีก 2-3 วันเนื่องจากสารอัลคาลอยด์ (alkaloid) ในลำโพงจะออกฤทธิ์อย่างช้า ๆ ในระบบทางเดินอาหาร
อาการเบื้องต้นที่พบบ่อยคือปากคอแห้ง กระหายน้ำ กลืนอาหารและน้ำด้วยความยากลำบาก ต่อมาสายตาพร่ามัว ระบบประสาทกลางถูกกระตุ้น มีอาการเคลิบเคลิ้มเป็นสุข ต่อมาเกิดอาการเพ้อคลั่ง มีอาการประสาทหลอน เพ้อเห็นสิ่งประหลาดต่าง ๆ นานาอย่างน่า สะพึงกลัว เช่นเห็นแมลงจำนวนมากมายอยู่บนผนัง หรือเห็นปลาฉลามกำลังไล่ล่ามนุษย์อย่างน่ากลัว หัวใจเต้นเร็ว ความร้อนในร่างกายสูงผิดปรกติ ไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ผิดปรกติในระหว่างเกิดอาการ และอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
6 ไวน์ สเนครูท White Snakeroot
ลักษณะที่เป็นพิษของ Snakeroot มาประกอบด้วยสารเคมีที่มีชื่อ Tremetome ทำให้มีอาการ อาเจียนรุนแรงและอาจทำให้มีอาการเพ้อ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ ไวน์ สเนครูท White Snakeroot ถูกใช้เป็นยารักษางูกัด เหมือนกับชื่อและดอกสีขาวของมัน
5 หญ้าต้อมต๊อก Deadly Nightshade
ความเป็นพิษจะเกิดหลังจากกินพืชที่มีสารประเภทนี้แล้วหลายชั่วโมง จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่ปากและคอหอย แล้วจึงคลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้องและท้องร่วง อุณหภูมิร่างกายขึ้นสูง อาการอื่นๆ ที่พบคือ ปวดศีรษะ เหงื่อออก น้ำลายไหลมากกว่าปกติ หายใจขัดและกล้ามเนื้อเปลี้ย อาการเป็นพิษในขั้นสุดท้ายคือ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เพราะลำไส้เป็นแผล ปัสสาวะเป็นเลือดเนื่องจากไตชำรุด ชักกระตุก หมดสติ อุณหภูมิลดต่ำ
4 อโคนิทิน
Aconitine ชื่อเคมี IUPAC มีฤทธิ์ทำให้ระบบประสาทเป็นอัมพาต อวัยวะภายในถูกทำลาย Aconitine เป็นสารพิษชนิดหนึ่ง สกัดได้จากต้น Aconite ซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีลำต้นสีเขียวเข้ม กลีบดอกเป็นสีม่วง ส่วนที่ใช้สกัด คือ ใบและราก ชาวอินเดียใช้มันนำทาบนหัวลูกศร เพื่อล่าสัตว์ เมื่อสกัดออกมาแล้วจะมีกลิ่นฉุน และมีความเป็นพิษสูง ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณเพียงแค่ 0.2 มิลลิกรัม ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ทันที อาการเมื่อได้รับพิษจะรู้สึกเสียวซ่าและชาในปาก (หากรับประทานเข้าไป) หายใจลำบาก ชีพจรเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ ผิวหนังเย็น ลำคอกลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน และตาเหลือก
3 ตีนเป็ดน้ำ หรือ ตีนเป็ดทะเล
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กชนิดหนึ่ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ มีลักษณะเป็นทรงพุ่มกลม ใบแน่น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีน้ำยางสีขาว กลีบดอกมีความสวยงาม มีสีขาว เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่าย ขึ้นได้ดี ต้องการแดดและความชื้นสูง สูงเต็มที่ประมาณ 12 เมตร มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนใต้ของจีน พบจนถึงนิวแคลิโดเนีย มักขึ้นในป่าชายเลนหรือบริเวณที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณชายทะเล
ตีนเป็ดน้ำมีผลทรงกลม คล้ายผลส้ม มีสีเขียว แต่ทว่ามีพิษ รับประทานมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ อีกทั้งยางก็มีพิษ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการทำเป็นสารเคมีฆ่าเหาได้
2. มะกล่ำตาไก่ หรือ มะกล่ำเครือ (Rosary Pea)
เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยคล้ายดอกถั่ว พบขึ้นทั่วไปตามป่าผสมผลัดใบ พบบ้างในป่าเต็งรัง เมล็ดมีสารพิษชื่อ abrin ถ้าขบเมล็ดให้แตกและกินเพียง 1-2 เมล็ด อาจเป็นพิษถึงตายได้
1 เมล็ดละหุ่ง (Castor Bean)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กทรงพุ่มเตี้ย มีใบเดี่ยวขนาดใหญ่คล้ายใบปาล์มขอบใบหยัก ก้านยาว ผลมีหนามโดยรอบมี 3 พู รวม 3 เมล็ด เมล็ดแบนรี ด้านนอกโค้งด้านในแบน เมล็ดมีสีชมพูเป็นลายพล้อยปนสีเทาเมล็ดที่แก่จัดจะนำ ไปใช้ประโยชน์มากมายทางด้านอุตสาหกรรม ความเป็นพิษของละหุ่งเกิดจาก ไรซิน (ricin) ซึ่งเป็นสารที่มีพิษสูงมากชนิดหนึ่งในบรรดาอาณาจักรของพืช เนื้อเยื่อในของเมล็ดละหุ่งประกอบด้วยไกลโคโปรตีน (glycoprotein) เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ หอบหืดในหมู่คนงาน
นอกจากนี้ส่วนของใบ ลำต้น เมล็ดละหุ่งประกอบด้วย โปแตสเซียม ไนเตรท (Potassium nitrate) และกรดไฮโดรไซยานิค ( Hydrocyanic acid) ขนาดของพิษ ricin ที่ทำให้คนถึงแก่ชีวิตประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณละหุ่ง 8 เมล็ด การกินเมล็ดละหุ่งโดยการเคี้ยวและกลืนเข้าไปจะเป็นอันตรายมากโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในเด็ก ซึ่งมีโอกาสที่จะแพ้สารพิษได้ง่าย แม้จะเป็นเพียงแค่เคี้ยวและกลืนเข้าไปเพียง 1 เมล็ดเท่านั้น ก็อาจ เสียชีวิตได้
ที่มา wonderslist
หญ้าต้อมต๊อก หรือ เดดลี่ไนท์เฉด อาจจะไม่คุ้นหูเท่าไหร่ แต่มีอีกชื่อที่คนที่ชอบอ่านเรื่องพืชแฟนตาซีต้องรู้จักแน่ คือ เบลลาดอนนา
ตอบลบ