Type Here to Get Search Results !

10 อันดับ สัตว์ที่น่าทึ่งพบได้เฉพาะใน ประเทศมาดากัสการ์

  คุณรู้หรือเปล่าว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้มาดากัสการ์มีความพิเศษ - หลากหลายทางชีวภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจ เพราะมันคือที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่แปลก หลากหลาย และที่น่าสนใจก็คือว่าสัตว์ป่าใน
มาดากัสก้าร์ ไม่สามารถพบได้ที่ไหนอีกในโลกนี้ นี่คือ 10 รายการของสัตว์ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่พบเฉพาะในประเทศมาดากัสการ์

1 เป็ด โปชาร์ด มาดากัสการ์


madagascar pochard

   เป็ดชนิดนี้ได้สูญพันธุ์ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 แต่ก็มีการค้นพบอีกครั้งในปี 2006 เมื่อนักอนุรักษ์ซึ่งทำการสำรวจได้สังเกตเห็นเป็ดดังกล่าว 22 ตัว ณ จุดๆ เดียว คือ ที่ทะเลสาบเลกมัทสะบอริเมนา (Lake Matsaborimena) หรือ ทะเลสาบแดง (Red Lake) ทางตอนเหนือของมาดากัสการ์ จากนั้นองค์กรอนุรักษ์เดอร์เรลล์ และ WWT จึงได้เริ่มภารกิจเร่งด่วนในการช่วยเหลือนกเป็ดที่มีวิกฤตเสี่ยงสูญพันธุ์ในปี 2009

2 ด้วงยีราฟ (Giraffe weevil)


giraffe weever


   ด้วงยีราฟ เป็นด้วงวงถิ่นมาดากัสการ์ ชื่อของมันมาจากคอยาวมากเหมือนกัน ยีราฟ ด้วงยีราฟตัวผู้มีคอที่ยาวเป็น 2-3 เท่าของความยาวคอตัวเมีย โดยจะมีสีดำกับสีแดงที่โดดเด่นตั้งแต่ปีกจนถึงลำตัว มีขนาดตัวเพียง 2.5 เซนติเมตร โดยใช้คอที่ยาวช่วยในการทำรังกับการต่อสู้ 

3 นก บลู คูอาร์ Blue Coua


blue coua

  เกาะมาดากัสการ์เป็นบ้านของนกเกือบ 250 สายพันธุ์ แต่ 44% ของพวกมันไม่สามารถพบได้ที่ไหนในโลก นก บลู คูอาร์ มีขนาดความยาวประมาณ 17-19.7 นิ้วและน้ำหนักถึง 235 กรัม เกือบทุกส่วนของร่างกายของพวกมันเป็นสีฟ้า สีฟ้าเข้มและสีฟ้าอ่อน แต่นี้นกที่สวยงามของมาดากัสการ์อาจสูญพันธุ์ไปในอนาคตอันใกล้เนื่องจากการล่าสัตว์

4 คาร์เมเลี่ยน แพนเทอร์ (Panther chameleon)


panther chameleon

   คาร์เมเลี่ยน แพนเทอร์ มีชื่อสามัญว่า Panther chameleon และชื่อสามัญ Panther chameleon ชื่อวิทยาศาสตร์ Chamaeleo [Furcifer> pardalis เป็นคาร์เมเลี่ยนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งตอนเหนือ ของเกาะมาดากัสการ์  แพนเทอร์ตัวเต็มวัย ตัวผู้จะมีขนาดตัวใหญ่กว่าตัวเมีย สีของแพนเทอร์จะมีหลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละตัว ตัวเมียส่วนใหญ่จะมีสีออกน้ำตาล และสีเทา และเมื่อต้องการเตือนตัวผู้ให้อยู่ห่างๆ จะเปลี่ยนสีเป็นสีเข้ม และมีจุดสีส้มกระจายอยู่ทั่วตัว ขนาดความยาวเมื่อโตเต็มวัยในเพศผู้ 12-17 นิ้ว ส่วนในเพศเมีย มีขนาดเล็กกว่าตัวผู้จะมีความยาวเพียง 7-9 นิ้ว

5 กบมะเขือเทศหรือกบมาดากัสการ์

tomato frog

   กบมะเขือเทศหรือกบมาดากัสการ์ อาศัยอยู่ที่เกาะ มาดากัสการ์ ทางทิศตะวันออกของแอฟริกา มันว่ายน้ำไม่เก่ง สามารถอยู่ในน้ำกร่อยได้แต่ไม่นานเท่ากับอยู่ในน้ำจืด รูปร่างหน้าตาของมัน จะอ้วนๆ เตี้ยๆ มีรอยย่นสีดำที่ตาและมีดวงตาสีเขียว มีปากแคบ มีสันนูนเป็นรอยย่นขึ้นมาบนปาก ใต้ท้องมีสีเหลือง ช่องคอเป็นสีดำ กบมะเขือเทศ ตัวผู้จะมีสีส้ม โตเต็มที่จะมีขนาด 2.5 นิ้ว หนัก 40 กรัม ส่วนตัวเมีย ซึ่งขนาดจะใหญ่กว่าตัวผู้ ลำตัวจะมีสีแดงสดเหมือนกับลูกมะเขือเทศสุก โตเต็มที่จะยาว 4 นิ้ว หนัก 227 กรัม ช่วงที่อายุน้อยอยู่ สีที่ฉูดฉาดสวยงามจะออกขุ่นมัว แล้วจะสดใสเมื่อถึงวัยโตเต็มที่ และจะมีชีวิตที่ยืนยาวถึง 10 ปี

6 ลีเมอร์ซิฟากา

sifaka


   ลีเมอร์ซิฟากา Sifaka เป็นไพรเมตจำพวกลีเมอร์ที่อยู่ในสกุล Propithecus ในวงศ์ Indriidae ลีเมอร์ซิฟากา นับเป็นลีเมอร์ขนาดใหญ่ มีขนตามลำตัวสีขาว และมีใบหน้ารวมถึงใบหูสีดำ เป็นลีเมอร์ที่ออกหากินในเวลากลางวัน มีเสียงร้องที่ดังมาก โดยกินใบไม้ชนิดต่าง ๆ รวมถึงผลไม้, ลูกไม้ และสามารถกินดอกไม้ของต้นไม้ที่มีหนามแหลมตลอดทั้งต้นได้ด้วย โดยใช้ฝ่าเท้าทั้ง 4 ข้างยึดจับหนามแหลมเหล่านั้นโดยไม่กลัวเจ็บ ในบางชนิดมีฟันหน้าที่มีลักษณะคล้ายหวี จึงสามารถดึงดอกไม้ออกมากินได้สะดวก นความเชื่อของชนพื้นเมืองชาวมาดากัสการ์ มีนิทานปรำปราเล่าว่า เดิมลีเมอร์ซิฟากาเคยเป็นเด็กผู้ชายมาก่อน วันหนึ่งได้พยายามขโมยอาหารกินด้วยความหิว จึงถูกแม่เลี้ยงทุบตีและป้ายเข้าที่หน้าด้วยช้อนตักขี้เถ้า จึงหนีเข้าป่าและกลายเป็นลีเมอร์ไป ลีเมอร์ซิฟากาจึงมีใบหน้ามีดำ และด้วยเหตุนี้ชนพื้นเมืองของมาดากัสการ์จึงไม่ล่าลีเมอร์ซิฟากา

7 อินดรี หรือ อินดรี อินดรี

indri


   อินดรี หรือ อินดรี อินดรี Indri, Indri indri, Babakoto เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร (Primate) ชนิดหนึ่ง จำพวกลีเมอร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Indri indri อยู่ในวงศ์อินดรี (Indriidae) มีลำตัวขนาดใหญ่ ขนาดประมาณเท่าลูกหมี มีความยาวตั้งแต่หัวจรดโคนหางประมาณ 64–72 เซนติเมตร (2.10–2.36 ฟุต) และอาจยาวได้ถึง 120 เซนติเมตร (3.9 ฟุต) น้ำหนักตัวเต็มที่ประมาณ 6-9.5 กิโลกรัม (13-21 กรัม)[4] ลำตัวมีขนสีขาว-ดำ ส่วนหางสั้น มีใบหูกลมคล้ายแพนด้า กินอาหารจำพวกใบไม้ และหน่ออ่อนของต้นไม้เป็นอาหารหลัก ออกหากินในเวลากลางวัน มีขาแข็งแรงเพราะต้องใช้ในการปีนป่ายต้นไม้ จัดเป็นลีเมอร์ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีเสียงร้องที่ดังที่สุด ซึ่งอาจได้ยินไปไกลถึง 3 กิโลเมตร อินดรีจะส่งเสียงร้องทุก ๆ เช้าเพื่อสื่อสารกันและประกาศอาณาเขต โดยจะเริ่มจากจ่าฝูงก่อน เมื่ออินดรีกระโดดครั้งเดียวอาจไกลได้ถึง 30 ฟุต ในการสัญจรไปมาระหว่างต้นไม้ เนื่องจากมีขาหลังที่ยาวและทรงพลัง ซึ่งขาหลังของอินดรีมีความยาวกว่าความยาวลำตัวรวมกับหัวด้วยซ้ำ กระจายพันธุ์อยู่เฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์ที่เดียวเท่านั้น



8 ฟอสซ่า 



fossa

  เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง เป็นญาติกับพวกพังพอน มีถิ่นอาศัยอยู่ในเกาะมาดากัสก้า ที่อยู่ทางใต้ของทวีปแอฟริกาเท่านั้น จึงเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยมีผู้คนรู้จักมากนัก พวกมันมีลักษณะคล้ายกับแมว พวกมันมีขนออกสีน้ำตาล ฟอสซ่าสามารถปีนป่ายต้นไม้ได้อย่างเก่งกาจ เพราะพวกมันมีเล็บที่แข็งแรง และพวกมันสามารถล่าอาหารของพวกมันบนต้นไม้ได้ ฟอสซ่ามีตั้งแต่หัว ไปถึงก้น(ไม่รวมหาง) ยาวประมาณ 70-80 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 5.5-8.6 กิโลกรัม ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และไม่ว่าพวกมันจะขึ้นหรือลงต้นไม้ พวกมันจะให้หัวนำหน้า และในปัจจุบัน พวกมันก็เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีถิ่นกำเนิดในเกาะมาดากัสก้าด้วย

9 อาย อาย

aye-aye

   ชื่อวิทยาศาสตร์ของ อาย-อาย คือ Daudentonia madagascariensis (/เดอ-เบน-เทอ-เนีย มา-ดา-กัส-กา-เรียน-ซิส/) โดยชื่อสกุลตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ หลุยส์-ฌอง-มารี-เดอเบนทัน นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส ที่ศึกษา อาย-อาย เป็นบุคคลแรก ขณะที่ชื่อชนิดมีความหมายถึง การอาศัยอยู่บนเกาะมาดากัสการ์ ขณะที่ชื่อสามัญคำว่า "อาย-อาย" มาจากเสียงร้องเรียกหากันของชาวตะวันตก ที่ออกเสียงว่า "เฮ้-เฮ้" นั่นเอง อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่านี่เป็นที่มาอย่างแท้จริง แต่อาจเป็นไปได้ว่าคำว่า "เฮ้-เฮ้" ในภาษามาลากาซี ออกเสียงใกล้เคียงกับคำว่า "เฮห์-เฮห์" ซึ่งมีความหมายว่า "ฉันไม่รู้" มาจากการที่ชาวมาลากาซี ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของเกาะมาดากัสการ์ใช้เรียก อาย-อาย กับชาวตะวันตก แทนที่จะเรียกชื่อโดยตรงก็เป็นได้ เพราะความเชื่อที่ว่า อาย-อาย เป็นสัตว์อัปมงคล

10 ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค

leaf tailed gecko


   ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค Satanic leaf-tailed gecko; ชื่อวิทยาศาสตร์: Uroplatus phantasticus สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกตุ๊กแก จัดเป็นตุ๊กแกหางใบไม้ชนิดหนึ่ง 

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค พบกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์เท่านั้น เป็นตุ๊กแกที่มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม มีร่างกายที่บิดงอ ผิวหนังที่มีเส้นเลือดโปดปูน และส่วนหางที่แบนราบแลดูคล้ายใบไม้แห้งอย่างมาก ทำให้สามารถพรางตัวเป็นใบไม้แห้งได้อย่างแนบเนียน ผิวหนังมีหลายสีด้วยกัน เช่น สีเขียวมะกอก หรือสีน้ำตาลมีจุดดำกระจายอยู่ตามตัว ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 10-13 นิ้ว มีดวงตากลมใหญ่ไร้เปลือกตา โดยจะมีเพียงเยื่อใส ๆ ห่อหุ้มป้องกันดวงตาเท่านั้น ดวงตาสีน้ำตาลอมชมพู มีจุดสีแดงตรงกลาง


















ที่มา themysteriousworld









แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น
* Please Don't Spam Here. All the Comments are Reviewed by Admin.

Top Post Ad