แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270
ล้านปีก่อน ถือกำเนิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน เมื่อประมาณ 290
ล้านปีมาแล้ว และมีชีวิตต่อมาในมหายุคมีโซโซอิก จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืช
สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า
"ลูกไม้สีเงิน" ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว"
ซึ่งแปลว่าตีนเป็ดจากลักษณะใบ (นกเป็ดน้ำเป็นสัญลักษณ์ดีหมายถึงความรักของในจีน
และในญี่ปุ่น) หรือ "ไป๋กั่ว" ในสำเนียงจีนกลาง (จีน: 白果) ซึ่งแปลว่า
"ลูกขาว" ต่อมามีการเรียกชื่อผลของมันว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว
เนื่องจากผลจะมีสีเงิน และ สีขาวส่วนภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิโจว
มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน
สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ หรือ ต้นเมเดนแฮร์ หรือ ต้นขนนิ่ม (maidenhair
tree) ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากรูปทรงของใบที่เหมือนกันใบของเฟิร์นที่มีขนนิ่มชื่อเดียวกัน
หรือ เรียกว่า ต้นสี่สิบมงกุฎทอง (หมายถึงว่ามีราคาแพง) ของชาวฝรั่งเศส
ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่มีผู้เรียกได้แก่ ต้นไม้แห่งความหวัง แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช
ต้นไม้อิสรภาพ
สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
(Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้
เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด
ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ
หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)
ในปัจจุบันหลายๆ
ประเทศได้ให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อม
โดยการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับสารอื่น ๆ
ช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กดีขึ้น
ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาสารสกัดจากใบแปะก๊วยนี้มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการนำสารสกัดดังกล่าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมอง
และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคความจำเสื่อมโรคซึมเศร้า อาการหลงๆ
ลืมๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายุ
ผลแปะก๊วยที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง
ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก
แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแหล่งใหญ่ของสารที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมสุขภาพดังกล่าว
กลับพบมากในส่วนของใบมากกว่าผลเสียอีก แปะก๊วย
ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของความคงทน
ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม
คงความเป็นต้นแปะก๊วยมาแต่ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน
และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย
จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น
มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย
ส่วนในจีนแปะก๊วยยังใช้แทนตัวขงจื๊อ
ผู้เป็นปราชญ์ใต้ต้นแปะก๊วย
สรรพคุณของแปะก๊วย
1. ลดระดับคอเลสเตอรอล
2. ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
3. มีวิตามินและแร่ธาตุสูง
4. แคลอรีต่ำ
5. รักษาโรคซึมเศร้า
6. เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ
7. รักษาโรคเรย์นาร์ด
8. รักษาอาการเบาหวานขึ้นตา
9.บรรเทาอาการของโรคพาร์กินสัน
10. รักษาอาการก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิง
แม้แปะก๊วยจะมีประโยชน์และสรรพคุณทางยาหลายด้าน แต่แปะก๊วยไม่ได้มีแต่ประโยชน์ ในบางประเทศจัดให้แปะก๊วยเป้นยาอันตราย ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้นจึงจะซื้อมาทานได้ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าแป๊ะก๊วยนั้นสามารถส่งผลเสียให้กับร่างกายได้ เช่น ปวดศีรษะ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย หรือมีอาการแพ้ที่บริเวณผิวหนัง