Type Here to Get Search Results !

10 อันดับ ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ปี 2021




10 ไททัน Titan





   ไททัน คือ ดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีระยะห่างจากดาวเสาร์เป็นลำดับที่ 20 เป็นดาวบริวารดวงเดียวที่เป็นที่ทราบกันว่ามีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น และเป็นวัตถุเพียงชนิดเดียวนอกจากโลกที่มีการค้นพบว่ามีร่องรอยของน้ำอยู่บนดาว ไททันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าดาวบริวารของโลกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และมีมวลมากกว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะ รองจากดาวบริวารแกนีมีดของดาวพฤหัสบดี และมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดซึ่งคือ ดาวพุธ


9 แกนีมีด Ganymede




  แกนีมีด เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี และเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีสนามแม่เหล็กสูง พื้นผิวหลายลักษณะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่ชั้นผิวเปลือกอย่างซับซ้อนยาวนาน มีลักษณะสำคัญ 2 แบบ คือ พื้นที่เก่าแก่เป็นบริเวณมืดคล้ำเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต ขรุขระ เป็นแอ่งลึก กับพื้นที่ใหม่เป็นบริเวณที่ราบเรียบ สว่างกว่า มีน้ำแข็งติดกับดินหิน บางพื้นที่เป็นรอยแยกยาวเหยียด แกนีมีดเป็นหนึ่งในดาวบริวารกาลิเลียน ค้นพบโดย กาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ตั้งชื่อตามเทพแกนีมีดในตำนานเทพเจ้ากรีก ผู้เป็นที่รักของเทพซูส


8 โอเบรอน Oberon



  โอเบรอน เป็นดวงจันทร์ขนาดใหญ่ของดาวยูเรนัส นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษค้นพบดวงจันทร์ในศตวรรษที่ 17 ปี ค.ศ. 1787 ดวงจันทร์มีส่วนประกอบของหินและน้ำแข็ง 


7 ไทรทัน Triton




   ไทรทัน เป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเนปจูน เป็นสถานที่เพียงหนึ่งในสามแห่งในระบบสุริยะ ที่มีก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศ นอกเหนือจากโลก และดาวบริวารไททัน (Titan Moon) ของดาวเสาร์ ไทรทันมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,707 ก.ม. มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ -235 องศาเซลเซียส (35 เคลวิน) สภาพภูมิประเทศเป็นหุบเหวและร่องลึกมากมาย เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำทำให้เกิดน้ำแข็ง และน้ำแข็งละลายกลับไปกลับมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า นอกจากนั้นยังมีภูเขาไฟน้ำแข็ง (Ice Valcanoes) ที่พ่นน้ำพุแรงดันสูง ประกอบด้วยไนโตรเจนเหลว มีเทนแข็ง และฝุ่นที่เย็นจัดขึ้นไปกว่า 8 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวของดาวบริวาร ลักษณะพื้นผิวดาวบริวารจะแวววาวจากหินแข็ง โดยมีส่วนผสมด้วยละอองอนุภาคสีดำขนาดเล็ก ถูกหุ้มด้วยผลึกน้ำแข็ง (เกิดจาก Ice carbonaceous) มีส่วนประกอบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และก๊าซมีเทน ฟุ้งกระจายเป็นหมอกบางๆ เหนือพื้น โดยมีน้ำแข็งทั้งหมดประมาณ 25%


6 รีอา Rhea



   
   รีอา เป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของดาวเสาร์และดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 9 ในระบบสุริยะ ค้นพบโดยโจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี ในปี ค.ศ. 1672


5 ไททาเนีย Titania




   ไททาเนีย เป็นดาวบริวารลำดับที่ 17 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส ถูกค้นพบเมื่อ วันที่ 11 มกราคม 1787 โดย วิลเลียม เฮอร์เชล ไททาเนียได้ตั้งชื่อตามราชินิแห่งนางฟ้า จากเรื่อง A Midsummer Night's Dream ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ วงโคจรของไททาเนียอยู่ในสนามแม่เหล็กของดาวยูเรนัส พื้นผิวส่วนใหญ่ของไททาเนียเป็นหินและน้ำแข็ง ส่วนแกนชั้นนอกเป็นหิน แต่แกนชั้นในเป็นน้ำแข็ง ต่อมาเครื่องอินฟราเรดสเปกโทรสโคป ได้เริ่มสำรวจแล้วพบว่ามีน้ำแข็งแห้งและน้ำแข็งบนพื้นผิวเป็นจำนวนมาก ไททาเนียเหมือนกับดาวบริวารหลักอื่นๆ คือเกิดจากจานพอกพูนมวล


4 ยูโรปา Europa




   ยูโรปา เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ค้นพบในปี ค.ศ. 1610 โดย กาลิเลโอ กาลิเลอี (เชื่อว่าในเวลาเดียวกันนั้น ไซมอน มาริอุส ก็ค้นพบด้วยเช่นเดียวกัน) ชื่อของดาวมาจากนางกษัตริย์ในตำนานปกรณัมกรีก คือ ยูโรปา ผู้ได้แต่งงานกับเทพซูสและได้เป็นราชินีแห่งครีต ยูโรปาเป็นดาวบริวารดวงเล็กที่สุดในบรรดาดาวบริวารกาลิเลียนทั้ง 4 ดวง ยูโรปามีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3000 กิโลเมตร มีบรรยากาศที่เบาบางประกอบไปด้วยออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ พื้นผิวที่เป็นน้ำแข็งและมีความเรียบมากนี้ประกอบไปด้วยรอยแตกและเส้นริ้วบางๆ โดยมีหลุมอุกกาบาตอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น พื้นผิวที่เรียบและดูใหม่นี้เองที่ทำให้เกิดสมมติฐานว่ามีมหาสมุทรอยู่ข้างใต้ซึ่งสามารถเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตต่างดาวได้ โดยสมมติฐานนี้เสนอว่าแรงดึงดูดที่มีมากของดาวพฤหัสบดีสร้างความร้อนให้กับยูโรปา


3 ดวงจันทร์ Moon


   ดวงจันทร์ เป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลก จัดเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่ลำดับที่ 5 ในระบบสุริยะ มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วัน เมื่อเปรียบเทียบการแปรคาบโคจรตามมาตรภูมิศาสตร์ระหว่างโลก-ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นเฟสของดวงจันทร์ ซึ่งจะซ้ำรอบทุกๆ ช่วง 29.5 วัน ดวงจันทร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์มีค่าประมาณ 3,474 กิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ดังนั้นพื้นผิวของดวงจันทร์มีน้อยกว่า 1 ใน 10 ของพื้นผิวของโลก มวลรวมของดวงจันทร์คิดเป็นประมาณ 2% ของมวลของโลก และแรงโน้มถ่วงเป็น 17% ของโลก


2 คัลลิสโต Callisto




   คัลลิสโต เป็นดาวบริวารดวงที่ 8 ของ ดาวพฤหัสบดี และเป็นหนึ่งใน ดาวบริวารของกาลิเลโอ ที่สี่ของดาวพฤหัสบดีที่เรียกว่า กาลิเลียน ด้วยระยะทางรัศมีวงโคจรประมาณ 1,880,000 กิโลเมตร คัลลิสโตเป็นดาวบริวาร กาลิเลียน วงนอกสุด คัลลิสโตมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 99% ของเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวพุธ แต่มีมวลเพียงประมาณหนึ่งในสามของดาวพุธ คัลลิสโต ประกอบไปด้วยหิน และน้ำแข็ง มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 1.83 g/cm3 สารประกอบที่ตรวจพบบนพื้นผิวน้ำแข็ง ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ,ซิลิเกต และสารประกอบอินทรีย์ การตรวจสอบโดย ยานอวกาศกาลิเลโอ พบว่าคัลลิสโตอาจจะมีแกนซิลิเกตขนาดเล็ก และ และอาจจะมีมหาสมุทรใต้ดินในของเหลวน้ำที่ระดับความลึกมากกว่า 100 กิโลเมตร


1 ไอโอ Io




   ไอโอ เป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นดวงที่อยู่ในสุดในกลุ่มดาวบริวารของกาลิเลโอ ถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ตั้งชื่อตาม ไอโอ นักบวชของเฮรา ที่ตกเป็นภรรยาของซูส ไอโอมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,642 กิโลเมตร เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่อันดับสี่ในระบบสุริยะ พื้นผิวดาวบริวารมีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับมากกว่า 400 ลูก ซึ่งยังปะทุซัลเฟอร์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกมาเป็นครั้งคราว



















ที่มา top10for

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น
* Please Don't Spam Here. All the Comments are Reviewed by Admin.

Top Post Ad