วิธีที่ 1 "จัดการกับตัวเอง"
ถ้าหากเป็นการเริ่มต้นทำสมาธิเพื่อการอ่านกนังสือหรือตำราที่บ้าน การทำตัวให้สดชื่นด้วยการอาบน้ำ-ชำระร่างการ และสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบายๆ ดื่มน้ำบริสุทร์สักแก้ว พร้อมทั้งหามุมอ่านหนังสือที่เหมาะๆ ก็จะยิ่งช่วยให้การเรียนรู้เราดียิ่งขึ้น แต่ถ้าหากคุณอยู่นอกบ้าน ในห้องเรียน ในสถานศึกษา หรือที่ทำงาน ซึ่งไม่สามารถกระทำดังที่กล่าวมาได้เเล้วล่ะก็ ขอเพียงว่า อย่าให้สภาพของตัวเราเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้มากนัก คงจะพอไหว
วิธีที่ 2 "จัดการกับสิ่งรอบตัว"
หาสถานที่ให้เหมาะสม มีความเงียบสงบ ตัดสิ่งเร้าใดๆ ออกจากตัวไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ รสมถึง....เพื่อนขาเมาท์คุณด้วยน่ะ ! สิ่งเราต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นอริกับสมาธิเราทั้งสิ้น
อุณหภูมิและแสงสว่างก็สำคัญ อุณหภูมิที่ไม่ร้อน - เย็นจนเกินไป ประมาณสัก 22-26 องศาเซลเซียส มันจะช่วยให้ร่างการเราสดชื่น ไม่เหนื่อยล้าง่าย นอกจากนี้แล้วแสงสว่างที่พอเหมาะจะช่วยให้เรามีสมาธิในการอ่านได้ดียิ่งขึ้น
วิธีการหายใจที่าหายใจถูกต้องคือ ถ้าหายใจเข้า-ท้องจะต้องป่อง หายใจออก-ท้องจะต้องแฟบ พอถูกทักแบบนี้ เราอาจจะงงๆ ได้ว่าที่เราหายใจกันอยู่ทุกวันนี้ มันเป็นอย่างไร ? เอาเป็นว่าลองฝึกและลองจัดระบบการหายใจกันเสียใหม่ให้เป็นดังที่เเนะนำกัน แล้วคุณจะรู้สึกอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว
เมื่อสูดลมหายใจเข้าปอดช้าๆ ลึกๆ ยาวๆ ติดต่อกันสัก 10 ครั้ง ความเครียด-ความอึดอัดที่มีมาก่อนหน้านี้สารอาหารและออกซิเจนในหลอดเลือดไปหล่อเลี้ยงเซลล์สมองได้อย่างเต็มที่
วิธีที่ 4 "มองไปที่ภาพ Mandala"
ภาพ Mandala เป็นรูปทรงเลขาคณิตหลายแบบหลายขนาด ที่ถูกออกแบบมาเพื่อชี้นำการมองเห็นภาพของเรา และดึงดูดสายตา รวมถึงโน้วน้าวนำการรับรู้ทางความคิดของเราเข้าสู่จุดศูนย์กลาง
ขอให้มองภาพนี้นานสัก 1-2 นาทีแรกๆ สมองของเราก็อาจจะวอกแวก คิดโน่นคิดนี่ นับโน่น-นับนี่ เกี่วกันในภาพ หรือไม่ก็อยากจะละสายตาออกไปจากภาพ แต่ขอให้มีความพยายามต่อไป เพียงไม่กี่อึดใจสายตาเราก็จะคุ้นเคย สามารถมองเห็นภาพลึกลงไปยังจุดศูนย์กลางของภาพ และความคิดของเราจะเริ่มดิ่งลงไป จนสงบนิ่งเกิดเป็นสมาธิ เกิดความสงบทางอารมณ์และจิตรใจ
ประการที่สำคัญที่ก็คือ อย่าลืมรักษาระบบหายใจด้วย ดังที่กล่าวมาในข้อที่ 3 การมองภาพ Mandala บ่อยๆ จะช่วยพัฒนาทั้งสมาธิและเชาวน์อารมณ์(EQ) ให้เกิดความสุขุมรอบคอบ ลดทอนอารมณ์ร้ายขี้โมโหฉุนเฉียวได้เป็นอย่างดี
วิธีที่ 5 "รักษาสมาธิไว้ต่อเนื่อง"
เมื่อเราเริ่มมีิเกิดขึ้น ก็เท่ากับว่าจิตใจเรากำลังผ่อนคลาย ปล่อยวางความวุ่นวาย-ความซับซ้อนจากเหตุการณ์ใดๆ ที่ได้เผเชิญมาก่อนหน้านี้
ณ จุดนี้เอง เมื่อความคิดของเราสงบนิ่งหรือว่างลง ก็ถือว่าสมองของเราพร้อมที่จะเริ่มต้นเรียนรู้ และเพิ่มพูนปัญญาหรือจะปฏิบัติงานใดๆ ที่ต้องใช้สมาธิต่อไปไดอย่ามีประสิทธิภาพ
วิธีที่ 6 "เพิ่มความมุ่งมั่น-เเน่วเเน่แก่การเรียนรู้"
ในขั้นตอนนี้ เราจะต้องผันตัวเองออหจากความว่าวเปล่า หรือความสงบนิ่ง อันเนื่องมาจากสมาธิ เพื่อหันมาสู่สิ่งที่เราจะต้องทำ หรือต้องการจะทำ หรือต้องการจะเติมใน ข้อมูล สาระ ความรู้ จากเรื่องที่เรากำลังจะศึกษา หรือเรือที่เรากำลังจะอ่าน ซึ่งเราจะต้องมีความมุ่งมั่นและความเเน่วเเน่อยู่กับเรื่องตรงหน้าให้ดีที่สุด
บ้างอาจจะค้านว่า ประการหลังคือ ความมุ่งมั่น - ความเเน่วแน่นี่เเหละที่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากเย็นแสนเข็ญเลยที่เดียว ซึ่งความจริงเเล้ว คำตอบที่อาจเป็นเรื่องที่ว่า"ยาก" หรือ "ง่าย" นั้นมันก็ขึ้นอยู่กับแต่ล่ะบุคคล