Type Here to Get Search Results !

10 อันดับ สนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

10 สนามกีฬาแห่งชาติอาเลปโป Aleppo International Stadium 
ความจุ: 75,000 ที่นั่ง
เมือง: อาเลปโป,ซีเรีย

 via marispolymers.com

 สนามกีฬาแห่งชาติอาเลปโป เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในซีเรีย สนามที่มีความจุ 75,000 ที่นั่งนี้เคยใช้แข่งขันฟุตบอลแมตช์สำคัญๆ ของทีมชาติซีเรียมาแล้วมากมาย

9 สนามกีฬาชาห์อาลัม
ความจุ: 80,000 ที่นั่ง 
เมือง: ชาห์อาลัม,มาเลเซีย

Shah Alam Stadium

   สนามกีฬาชาห์อาลัม Shah Alam Stadium เป็นสนามกีฬามาตรฐานตั้งอยู่ที่เมืองชาห์อาลัม ประเทศมาเลเซีย เป็นสนามที่ใช้ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลเป็นส่วนใหญ่ โดยปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของสมาคมฟุตบอลเซอลาโงร์ (Selangor FA) สโมสรฟุตบอลในมาเลเซียซูเปอร์ลีก มีความจุทั้งหมด 80,000 ที่นั่ง


8 สนามกีฬาเซี่ยงไฮ้
ความจุ: 80,000 ที่นั่ง 
เมือง: เซี่ยงไฮ้,ประเทศจีน

via wikipedia.org

   สนามกีฬาเซี่ยงไฮ้ Shanghai Stadium ปัจจุบันใช้เป็นสนามแข่งขันของ Chinese Super League club Shanghai East Asia สนามแห่งนี้มีความจุ 80,000 ที่นั่ง และเคยใช้เป็นสนามแข่งขันฟุตบอลรอบแรกในโอลิมปิกเกมส์ 2008 ด้วย

7 สนามกีฬาแห่งชาติกรุงปักกิ่ง
ความจุ: 80,000 ที่นั่ง 
เมือง: ปักกิ่ง,ประเทศจีน 

Beijing National Stadium

    สนามกีฬาแห่งชาติกรุงปักกิ่ง เป็นสนามกีฬาหลักที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่จะถูกจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนธันวาคม 2546 มีกำหนดการสร้างเสร็จในปี 2550 นี้ ได้รับการออกแบบโดย Herzog & DeMeuron (สวิสเซอร์แลนด์) และสถาบันออกแบบสถาปัตยกรรมจีน (China Architecture Design Institute) ครอบคลุมพื้นที่ 258,000 ตร. ม. และมีขนาดความจุ 1 แสนที่นั่ง ใช้งบประมาณถึง 3.5 พันล้านเหรินหมินปี้ โดยสนามกีฬาแห่งนี้จะถูกใช้เป็นสนามแข่งขันกรีฑาและฟุตบอล


6 สนามกีฬาโอลิมปิกกวางตุ้ง
ความจุ: 80,012 ที่นั่ง 
เมือง : กว่างโจว,ประเทศจีน

Guangdong Olympic Stadium

   สนามกีฬาโอลิมปิกกวางตุ้ง เป็นสนามกีฬาที่ตั้งอยู่ในนครกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1998 แล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2001 มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของจีน รองจากสนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง ในปี ค.ศ. 2010 สนามกีฬาแห่งนี้เป็นสนามกีฬาหลักของกีฬาเอเชียนเกมส์ 2010 ที่ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพ อย่างไรก็ตามพิธีเปิดและปิดการแข่งขันมิได้จัดที่นี่ แต่จัดที่เกาะไห่ซิงซากลางแม่น้ำซูเจียงแทน

5 สนามกีฬา อะซาดี
ความจุ: 84,412 ที่นั่ง 
เมือง: เตหะราน,ประเทศอิหร่าน

Azadi Stadium

   สนามกีฬาอะซาดี สนามกีฬาแห่งชาติ และสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติอิหร่าน และเป็นสนามเหย้าของทีมเอสเตกัล และ ทีมเปอร์เซโปลิส ในลีกสูงสุดของอิหร่าน โดยใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 เดิมมีชื่อว่า สนามกีฬาอัรยาเมหร์  ตั้งอยู่ในเขตอัคบาตาน กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เป็นส่วนหนึ่งของอะซาดีสปอร์ตคอมเพล็กซ์

4 สนามกีฬาแห่งชาติบูกิตจาลิล
ความจุ: 87,411 ที่นั่ง
เมือง: กรุงกัวลาลัมเปอร์,ประเทศมาเลเซีย

Bukit Jalil National Stadium

   สนามกีฬาแห่งชาติบูกิตจาลิล ตั้งอยู่ที่บูกิตจาลิล, เมืองกัวลาลัมเปอร์, ประเทศมาเลเซีย เป็นสนามกีฬาแห่งชาติของประเทศมาเลเซีย ก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1992 และเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1998 ด้วยการใช้งบสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศมาเลเซียที่เห็นความสำคัญและใส่ใจในด้านกีฬาของประเทศ ปัจจุบันสนามแห่งนี้ใช้เป็นสนามเหย้าของ ฟุตบอลทีมชาติมาเลเซีย และเป็นสนามฟุตบอลที่มีความจุมากที่สุดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3 เกลอรา บังการ์โน สเตเดียม
ความจุ: 88,306 ที่นั่ง
เมือง: กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

Gelora Bung Karno Stadium

  เกลอรา บังการ์โน สเตเดียม หรือชื่ออย่างเป็นทางการ เกลอรา บังการ์โน เมนสเตเดียม เป็นสนามที่ใช้ได้หลายประเภท ตั้งอยู่ใน เกลอรา บังการ์โน สปอร์ตส คอมเพลกซ์ ในเขตเสนายัน ใจกลางเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเป็นชื่อหลังจาก ซูการ์โน เป็นประธานีธิบดีของอินโดนีเซีย โดยส่วนมากจะใช้ในการแข่งขันฟุตบอล 


2 Salt Lake Stadium 
ความจุ: 120,000 ที่นั่ง
เมือง: เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย

 via facebook.com/SheikhKamalInternationalStadiumCoxsBazar

   สนามที่มีความจุถึง 120,000 ที่นั่ง ในอินเดีย เป็นสนามที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก  Mohun Bagan AC, East Bengal Club, Mohammedan SC และ Pailan Arrows ทั้งหมด ใช้ที่นี่ในการเล่นสำหรับเกมส์ในบ้านของพวกเขา.
 
1 Rungnado May Day Stadium
ความจุ: 150,000 ที่นั่ง
เมือง: เปียงยาง , เกาหลีเหนือ

Biggest Stadiums by Capacity

      สนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้มีชื่อว่า Rungnado May Day Stadium (รึงนาโดย์เมย์เดย์ สเตเดี่ยม) ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเปียงยาง ที่นี้ก็คือ ประเทศเกาหลีเหนือนั่นเอง เป็นที่น่าแปลกใจที่ประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่าประชาชนยากจนมากประเทศหนึ่ง แต่กลับทุ่มงบประมาณไปกับการสร้างสนามกีฬาขนาดใหญ่แห่งนี้ โดยสนามกีฬาแห่งนี้เปิดใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2532สามารถจุคนได้ถึง 150,000 คน(นับจากจำนวนที่นั่ง) แต่เคยถูกบันทึกลงกินเน็ตบุ้คมาแล้วว่าจุคนได้ถึง 193,960 คน ในขณะที่สนามราชมังคลากีฬาสถานของไทยมีความจุอยู่ที่ 65,000 คน เรียกได้ว่าใหญ่กว่าเป็น 3 เท่าเลยทีเดียว วัตถุประสงค์หลักคือสร้างขึ้นเพื่อเป็นสนามเอนกประสงค์สำหรับช้ในงานเดินพาเหรด การแสดงและงานเฉลิมฉลองต่างๆ





ที่มา sportstardom

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น
* Please Don't Spam Here. All the Comments are Reviewed by Admin.

Top Post Ad